อินเดียยังครองติดพันธ์ุโอไมครอนสะสมที่ 1 ในเอเชีย ไทยหล่นมาอันดับ 3

363
0
Share:

สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนในเอเชีย โดยเฉพาะของประเทศไทยเผชิญกับอัตราการติดเชื้อที่เร่งตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะผ่านพ้นช่วงเทศกาลปีใหม่ ส่งผลให้วันนี้ 4 มกราคม 2565 เมื่อเวลา 9.00 น. พบว่า 3 อันดับแรกในเอเชีย ได้แก่ อินเดีย 1,917 ราย(+177) สิงคโปร์ 1,813 ราย(+187) และ ประเทศไทย 1,780 ราย(+229) อย่างไรก็ตาม ในแง่จำนวนติดเชื้อรายวันนั้น ไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย และอาเซียน จากจำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนจำนวน 229 ราย

เมื่อวานนี้ 3 มกราคม 2565 ข้อมูลสื่อ BNO Newsroom ซึ่งเป็นสำนักข่าวอิสระที่ติดตาม และรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 นับตั้งแต่เกิดการระบาดครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่นมาถึงปัจจุบัน รายงานว่าเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2565 เมื่อเวลา 15.00 น. จำนวนติดเชื้อสะสมของเอเชีย ประเทศไทยที่ 1,780 ราย ส่งผลให้ประเทศไทยติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนขึ้นอีก 2 อันดับโลก โดยแซงประเทศสิงคโปร์มีผู้ติดเชื้อ 1,626 ราย และอินเดียมีผู้ติดเชื้อ 1,740 ราย โดยประเทศไทยขึ้นมาอยู่ที่อันดับที่ 13 ของโลก และอยู่ในอันดับที่ 1 ของทวีปเอเชีย รวมถึงอยู่ในอันดับที่ 1 ของอาเซียน

เมื่อวานนี้ 3 มกราคม 2565 เวลา 15.00 น. โดยประมาณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงรายงานพบผู้ป่วยติดโรคระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนในไทย มีจำนวนเพิ่มขึ้น 229 ราย รวมติดสะสมทั้งหมดเป็น 1,780 ราย สำหรับจังหวัดที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรก คือกรุงเทพมหานคร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชลบุรี และภูเก็ต โดยยังคงพบการติดเชื้อในผู้เดินทางเข้าประเทศ

จากกรณีที่มีรายงานจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ว่า พบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน เพิ่มขึ้น 229 ราย สะสมทั้งหมด 1,780 ราย โดยจังหวัดที่พบมากที่สุดยังเป็นกรุงเทพมหานคร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชลบุรี และภูเก็ต โดยยังคงพบการติดเชื้อในผู้เดินทางเข้าประเทศ

รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การที่ทั่วโลกพบการติดเชื้อโอไมครอนเพิ่มขึ้น ทำให้เราต้องประกาศชะลอการเดินทางเข้าประเทศในระบบ Test and go เพื่อประเมินสถานการณ์ จากที่กำหนดทีแรกว่าจะรอดู จนถึงวันที่ 4 มกราคม แต่ด้วยขณะนี้เรายังพบผู้เดินทางเข้าประเทศติดเชื้อโอไมครอน ส่งผลให้ในที่ประชุม EOC ของ สธ. ในวันนี้ ที่ มีปลัด สธ. อธิบดีกรมควบคุมโรค ผู้บริหาร สธ. และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่ต่างให้ความเห็นว่า สธ. ควรจะเสนอต่อ ศบค. พิจารณาเลื่อนมาตรการ test and go ออกไปจนถึงสิ้นเดือนมกราคม 2565 ซึ่งตนให้การสนับสนุนการตัดสินใจนี้ และได้ออกคำสั่งไปแล้วว่าต้องรีบเสนอ ศบค.

“ให้คำสั่งไปแล้ว และยืนยันว่า เพื่อความสบายใจในเรื่องของมาตรการเข้าประเทศ และความปลอดภัยของคนในประเทศ จำเป็นต้องมีนโยบายให้เลื่อนเปิด Test and go ออกไป ซึ่งเราจะเสนอในที่ประชุมศบค. พิจารณาเห็นชอบทันที”