เงินหยวนร่วง 6 เดือนติดยาวนานใน 4 ปี กระทบ 4 สกุลเงินในเอเชียรวมบาทร่วงต่อ

380
0
Share:
เงินหยวน ร่วง 6 เดือนติดยาวนานใน 4 ปี กระทบ 4 สกุลเงินในเอเชียรวมบาทร่วงต่อ

ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลต่างประเทศในเอเชีย รายงานว่า ค่าเงินหยวนเทียบเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงตกต่ำทำสถิติในรอบ 2 ปีเมื่อสัปดาห์ผ่านไป ส่งผลให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ทำสถิติร่วงอ่อนค่ายาวนานที่สุดในรอบเฉียด 4 ปี หรือนับตั้งแต่ตุลาคม ปี 2018 เป็นต้นมา ธนาคารโกลด์แมน แซคส์ เปิดเผยว่า ภาวะเงินหยวนร่วงอ่อนค่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง และกลายเป็นปัจจัยคุกคามต่อสกุลเงินของประเทศที่ทำการค่ากับจีน เช่น เอเชีย อาเซียน และแอฟริกา

สาเหตุจากภาวะเศรษฐกิจจีนแผ่นดินใหญ่ชะลอตัวอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ซึ่งธนาคารชั้นนำระดับโลกหลายแห่งล้วนปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจีนแผ่นดินใหญ่ปีนี้มาเหลือเพียง 3.5% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 40 ปี ภาวะหนี้เสียอสังหาริมทรัพย์ในจีนแผ่นดินใหญ่ที่พุ่งสูง ธนาคราพาณิชย์ 2 แห่งในจีนแผ่นดินใหญ่ประกาศภาวะล้มละลายจากมูลค่าหนี้เสียที่ปล่อยกู้ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นโยบายไม่อยู่ร่วมกับโรคระบาดโควิด-19 ที่กระทบต่อภาคธุรกิจทั้งสัญชาติจีน และต่างชาติ ทำให้เกิดแนวโน้มการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนแผ่นดินใหญ่ของอุตสาหกรรมชั้นนำระดับโลก รวมถึงภาวะภูมิอากาศแปรปรวน เช่น ภัยแล้งที่พึ่งเกิดขึ้นในรอบกว่า 150 ปี กระทบการใช้พลังงานไฟฟ้ากับโรงงานอุตสาหกรรมในจีนแผ่นดินใหญ่

ธนาคารโกลด์แมน แซคส์ จากสหรัฐอเมริกา และธนาคารโซซิเอเต้ เจนเนอรัล จากฝรั่งเศส เปิดเผยมุมมองที่สอดคล้องกันว่า ค่าเงินหยวนที่อ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง และถูกคาดการณ์ว่าจะร่วงไปแตะระดับที่ 7 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงปลายปีนี้ จะส่งผลต่อค่าเงินของประเทศคู่ค้ากับจีน ที่อยู่ในเอเชีย อาเซียน และแอฟริกา อ่อนค่าลงด้วย ได้แก่ เงินวอน(เกาหลีใต้) เงินดอลลาร์ไต้หวัน(ไต้หวัน) เงินบาท เงินริงกิต(มาเลเซีย) และเงินแรนด์(แอฟริกาใต้)

แนวโน้มดังกล่าวไม่ได้ส่งผลดีต่อตลาดส่งออกของประเทศในแถบเอเชีย และแอฟริกา แต่อย่างใด แต่อาจกลับกลายเป็นการสร้างภาวะเงินเฟ้อของผู้ผลิตสินค้าที่เป็นคู่ค่ากับจีนแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากมีการสั่งซิ้อและนำเข้าวัตถุดิบจากจีนมาผลิตสินค้าในประเทศคู่ค้า โดยพบว่า 10 ประเทศในประเทศเอเชีย อาเซียน และแอฟริกาที่เป็นคู่ค้าของจีนด้วยการพึ่งการส่งออกไปจีน ได้แก่ เปรู 36.5% บราซิล 34.4% เกาหลีใต้ 29.3% อินโดนีเซีย 23.9% มาเลเซีย 23.6% ฟิลิปปินส์ 23.0% เวียดนาม 22.8% แอฟริกาใต้ 20.0% ไทย 19.9% และรัสเซีย 15.5%