เปิดไทม์ไลน์ ล่ามกระทรวงแรงงานเสียชีวิตจากโควิด

681
0
Share:

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวถึงไทม์ไลน์นายหมัด มะมิน อายุ 54 ปี เจ้าหน้าที่ล่ามประจำกรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย ที่ติดเชื้อโควิด-19 และได้ส่งตัวมาพักรักษาตัวที่รพ.ราชวิถี เสียชีวิตแล้วเมื่อช่วงเที่ยงที่ผ่านมาว่า
.
ผู้เสียชีวิตเป็นผู้ชายไทยอายุ 54 ปี มีอาการไม่สบายเมื่อต้นเดือน ก.ค. ที่ประเทศซาอุฯ ได้รับการตรวจที่ประเทศซาอุฯ และพบเชื้อโควิด วันที่ 21 ก.ค. 2563 แต่ยังไม่ได้นอน รพ.
.
26 ก.ค. 2563 มีอาการมากขึ้น หายใจไม่ทั่วท้อง มีไข้ ไอ จึงได้เข้ารับการรักษาตัวที่ King Fahad Medical City ซึ่งสังเกตได้ว่าต้องใช้เวลาถึง 5 วันกว่าจะเข้าแอดมิด ซึ่งต่างจากไทย ที่เมื่อเจอเชื้อจะแอดมิดทันที
.
31 ก.ค. 2563 แอดมิด ไอซียู และวันที่10 ส.ค. 2563 ทำ CPR และ ใส่ท่อช่วยหายใจ
.
25 และ 30 ส.ค. 2563 ผลการตรวจที่ประเทศซาอุฯ ก่อนกลับประเทศไทยทั้ง 2 วันผลเป็นลบ-ไม่ติดเชื้อ
.
1 ก.ย. 2563 ช่วงเวลา 20.30 ออกจากกรุงริยาด ซาอุดิอาระเบีย โดย Air Ambulance พร้อมทีมแพทย์และ พยาบาลอินโดนีเซีย และช่วง 23.30 รถพยาบาลขั้นสูง พร้อมอุปกรณ์ทีมแพทย์และพยาบาล และเจ้าหน้าที่กู้ชีพ เดินทางออกจาก รพ. ราชวิถี ไปยังสนามบินดอนเมือง
.
2 ก.ย. 2563 ช่วง 01.36 น. ทีมแพทย์ศูนย์กู้ชีพนเรนทร รพ.ราชวิถี รับผู้ป่วยจาก Air Ambulance ด้วยวิธี Patient Isolution Transport Unit พร้อมติดตามอาการและสัญญาณชีพตลอดการนำส่ง
.
3 ก.ย.2563 ช่วงเวลา 8.00น. ผู้ป่วยมีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น เนื่องจากช่วงเดินทางมาจากซาอุฯด้วยเครื่องบินไม่ได้ใส่ท่อเครื่องช่วยหายใจ ทางแพทย์ไทยจึงใส่ท่อช่วยหายใจ และได้ยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือดดำ
.
ผลประเมินช่วงแรกในการรักษา พบว่ามีปัญหาปอดอักเสบ ตั้งแต่ช่วงก่อนส่งตัวมา แม้ว่าจะดีขึ้นจากโควิด แต่ปัญหาปอดอักเสบจากแบคทีเรีย และดื้อยาแทรกซ้อน ตั้งแต่ก่อนเดินทางมาไทย ทำให้การหายใจค่อนข้างมีปัญหา และหายใจด้วยตัวเองไม่ไหว จึงต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งทางรพ.ก็ได้ให้ยาต่อเนื่อง อีกทั้งก่อนเดินทางมาไทยหัวใจหยุดเต้นไป 1 ครั้ง ช่วงรักษาตัวที่ซาอุฯ ก็อาจมีผลให้กล้ามเนื้อหัวใจบาดเจ็บ เมื่อเดินทางมาไทย ได้ตรวจคลื่นหัวใจยังมีความผิดปกติอยู่ เสี่ยงทำให้หัวใจหยุดเต้น ซึ่งมีอาการนี้จนถึงกระทั่งก่อนเสียชีวิต รวมถึงยังมีโรคประจำตัว โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดความยุ่งยากในการรักษา ซึ่งปัจจัยทั้งหมดมีผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
.
ซึ่งในเบื้องต้นจากการวินิจฉัย สาเหตุการตายหลัก “ไม่น่าจะใช่โควิด” เพราะติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาหลายขนาด และคนไข้ไม่ดีขึ้นเลยในช่วงสัปดาห์หลัง แต่โดยอ้อมโควิดกดก็ทำให้ปอดเป็นแผล และอักเสบทั้งสองข้าง
.
แต่ในทางระบาดวิทยา คนไข้อยู่ในรพ. มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ซาอุฯ จนมาถึงไทยและยังไม่กลับบ้าน ทำให้ยังอยู่ระหว่างการรักษา ซึ่งจะมีการประชุมในสัปดาห์หน้าว่าจะนับเป็นการเสียชีวิตด้วยโควิด รายที่ 59 หรือไม่ “แต่เชื่อว่าน่าจะนับ”