เรื่องดีๆ ! กรมทรัพย์สินฯ เผยกางเกงช้างปลุกกระแส เจ้าของไอเดียแห่ยื่นจดลิขสิทธิ์ต่อเนื่อง

133
0
Share:

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่าในช่วง 6 เดือนหลังของปีงบประมาณ 2567 กรมฯ ยังคงเดินหน้าส่งเสริมการสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง โดยมีโครงการสำคัญ อาทิ การส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทยด้วยทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางการค้าใน 11 อุตสาหกรรมการยกระดับสินค้า GI ไทย ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารและขยายช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ตั้งเป้าสร้างมูลค่าการตลาดมุ่งสู่ 64,000 ล้านบาท การส่งเสริมการสร้างสรรค์การ์ตูนออนไลน์ (T-Toon) ที่มีผู้อ่านทั่วโลกมากกว่า 60 ล้านคนต่อเดือน ผลักดันการแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ให้ตอบโจทย์การค้ายุคดิจิทัล รวมทั้งจัดทําแผนพัฒนาด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไทย พ.. 2567 – 2569 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบคุ้มครองและปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีหมุดหมายสำคัญในการเดินหน้านำพาประเทศไทยหลุดจากบัญชี WL

สำหรับ การยื่นจดลิขสิทธิ์ ลายกางเกง หลังจากกระแสกางเกงช้างกระตุ้นให้เจ้าของไอเดีย ล่าสุดยื่นขอจดลิขสิทธิ์ประมาณ 40 ราย ครอบคลุม 40 จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นตัวแทนจังหวัดอยู่ในภาคอีสานและใต้ เพื่อโปรโมทจังหวัดของตนเอง  อีกทั้งส่วนใหญ่เป็นลายผ้า ผ้าไทยของท้องถิ่นต่างๆ สร้างมูลค่าและรายได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  ยกตัวอย่างเช่น เจ้าของลิขสิทธิผู้ออกแบบในเมืองนนทบุรี ยื่นจดลายทุเรียนและรถไฟฟ้าล่าสุดมียอดจองผลิตแล้ว  3-4 พันตัว เป็นต้น

นอกจากนี้ตลอดปี 2566 ที่ผ่านมากรมฯ ได้ดำเนินภารกิจด้านทรัพย์สินทางปัญญาครบทุกมิติ โดยในด้านส่งเสริมการสร้างสรรค์ ได้จัดให้มีบริการให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาแบบครบวงจร เข้าถึง SMEs กว่า 10,000 ราย มีระบบวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีสิทธิบัตร ช่วยให้ธุรกิจไทยรู้เท่าทันคู่แข่ง/คู่ค้า และมองเห็นช่องว่างของการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อวางแผนกลยุทธ์หรือแนวทางพัฒนาสินค้า และส่งเสริมคนรุ่นใหม่สร้างสรรค์งานเพลงบุกตลาดสตรีมมิ่งเอเชีย ในฮ่องกง มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย มีการรับชมกว่า 10 ล้านครั้ง สำหรับด้านส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาเชิงพาณิชย์ อาทิ การยกระดับสินค้า GI ไทย 200 สินค้า สร้างมูลค่าทางการตลาดกว่า 58,000 ล้านบาท การส่งเสริมการสร้างแบรนด์กีฬาของคนไทยสู่สากลด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ให้จดจำง่าย คุ้มครองทั่วโลก การจัดงานมหกรรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อแสดงนวัตกรรมงานสร้างสรรค์ของไทย และสร้างโอกาสทางธุรกิจ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในงานกว่า 100 ล้านบาท เป็นต้น

ขณะเดียวกันมีการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ได้นำเทคโนโลยีมายกระดับงานบริการ อาทิ ระบบ IP e-Registration ครอบคลุมตั้งแต่การยื่นคำขอผ่าน e-Filing ชำระเงิน

ผ่าน e-Payment รับใบเสร็จผ่าน e-Receipt และรับหนังสือสำคัญผ่าน e-Certification ช่วยลดขั้นตอนและค่าใช้จ่าย ระบบ Image Search ช่วยตรวจสอบความเหมือนคล้าเครื่องหมายการค้า ระบบ AI Search ช่วยลดระยะเวลาตรวจสอบคำขอ รวมทั้งบริการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่างๆ แบบเร่งด่วน (Fast Track) และสุดท้ายด้านการปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ได้จัดงานทำลายของกลางคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา กว่า 1.2 ล้านชิ้น มูลค่าความเสียหายกว่า 600 ล้านบาท พัฒนามาตรการป้องปรามการละเมิดเชิงรุกทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ รวมทั้งส่งเสริมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททั้งในและต่างประเทศ เพื่อลดจำนวนคดีขึ้นสู่ศาล ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย