เอกชนไทยขึ้นเงินเดือนปีหน้า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วเอเชีย เตือนนายจ้างระวังพนักงานออก

180
0
Share:
เอกชนไทย ขึ้นเงินเดือน ปีหน้า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วเอเชีย เตือนนายจ้างระวังพนักงานออก

นายจักรชัย บุญยะวัตร ประธาน บริษัท เมอร์เซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทบริการค้นหาและเสนอพนักงานมืออาชีพ รวมถึงบริการที่ปรึกษาทรัพยากรบุคคล เปิดเผยว่า แม้ว่าบริษัทในภาคเอกชนไทยจะปรับขึ้นอัตราเงินเดือนในปีนี้ และปีหน้า ท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย แต่การปรับขึ้นอัตราเงินเดือนในปี 2024 ที่ระดับ 5.0% ของประเทศไทยกลับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยการขึ้นอัตราเงินเดือนในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 5.2% ในปี 2024 สำหรับภาคเอกชนในอินเดีย คาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราเงินเดือนสูงสุดในเอเชีย โดยปรับขึ้นเฉลี่ยสูงถึง 9.3%

บริษัทเอกชนจะมีการปรับขึ้นอัตราเงินเดือนโดยเฉลี่ยทุกอุตสาหกรรมของไทยในปี 2566 นี้ จะเพิ่มขึ้นเพียง 4.8% ขณะที่ในปี 2567 บริษัทเอกชนในไทยคาดว่าจะปรับขึ้นอัตราเงินเดือนเฉลี่ย 5.0% จากฐานเงินเดินที่เฉลี่ยปรับขึ้นในปีนี้ สาเหตุจากแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจไทยที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวในปี 2024 ที่ระดับ 3.8% ซึ่งเป็นผลจากแนวโน้มการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวไทย และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

บริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ถูกคาดการณ์ว่าจะปรับขึ้นอัตราเงินเดือนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งหมด คือ ธุรกิจวิทยาศาสตร์สุขภาพ อุตสาหกรรมไฮเทค ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค และอุตสาหกรรมเคมี โดยเฉพาะ 2 กลุ่มธุรกิจที่เป็นดาวรุ่งในการปรับขึ้นอัตราเงินเดือนสูงกว่าค่าเฉลี่ย คือ อุตสาหกรรมไฮเทค ความต้องการใช้สินค้าและบริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีระดับสูงนำมาใช้ในในการผลิตและการทำงาน ส่งผลต่อรายได้ของธุรกิจในกลุ่มไฮเทคเพิ่มมากขึ้น และสามารถจ่ายเงินเดือนให้พนักงานเพิ่มขึ้น

สอดรับกับธุรกิจวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งเป็นธุรกิจที่เติบโตเร็วและได้แรงส่งต่อเนื่องจากวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้ธุรกิจด้านเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ และเครื่องมือการแพทย์ ยังคงเป็นธุรกิจเติบโตดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลมีรายได้ให้ธุรกิจเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถปรับขึ้นเงินเดือนสูงกว่าค่าเฉลี่ยได้

ด้านอาชีพหรือตำแหน่งงานที่ต้องการพนักงานที่มีความสามารถสูงรวมถึงต้องการให้ทำงานคู่กับบริษัทในระยะยาว ได้แก่ อันดับ 1 งานขายและการตลาด อันดับ 2 วิศวกรและวิทยาศาสตร์ และอันดับ 3 ไอทีและโทรคมนาคม โดยเฉพาะตำแหน่งงานสำคัญอย่างมาก ได้แก่ พนักงานด้านความปลอดภัยระบบเทคโนโลยี ส่งผลให้พนักงานสายเทคโนโลยีเป็นที่ต้องการสูง โดยพนักงานในสายงานนี้จะต้องสอบและได้รับใบอนุญาต หรือไลเซนส์รับรองคุณสมบัติในสานงานนี้ ที่สำคัญ ในประเทศไทยมีบุคลากรที่ได้รับไลเซนส์นี้ราว 200 คน

แนวโน้มการลดจำนวนพนักงานด้วยการปลดหรือสมัครใจลาออกนั้น คาดการณ์ว่าในปีนี้ 2023 อัตราการสมัครใจลาออกจะเพิ่มขึ้นถึงตัวเลข 2 หลักที่ 10.0% ที่สำคัญ ตัวเลขดังกล่าวอาจเพิ่มสูงไปถึงปี 2024 โดยก่อนหน้านี้ อัตราการสมัครใจลาออกที่สูงสุดมีถึง 16.0% ในปี 2013 หรือปี 2556 ปัจจัยมาจากมุมมองของพนักงานที่กลับมามั่นใจในภาวเศรษฐะการจ้างงานที่ล้อไปกับเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวมากขึ้น

ทั้งนึ้ ผลสำรวจทั้งหมดในประเทศไทยเกี่ยวค่าตอบแทนประจำปี 2023 และคาดการณ์ปี 2024 ของเมอร์เซอร์ (ประเทศไทย) เป็นการเก็บข้อมูลจากภาคเอกชนในไทยจำนวน 617 บริษัท มีตำแหน่งงานรวมกว่า 359,000 ตำแหน่ง จากทั้งหมด 7 อุตสาหกรรม นอกจากนี้ 87% ของบริษัทที่สำรวจในครั้งนี้ เป็นบริษัทในเครือของบริษัทต่างประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยของบริษัทที่สำรวจกว่า 2,800 ล้านบาท