เอกลาภ ยิ้มวิไล ชิ่งลาออกจากซีอีโอซิปเม็กซ์ตั้งแต่ต้นเดือน แพลตฟอร์มเทรดคริปโตสุดฉาว

473
0
Share:
เอกลาภ ยิ้มวิไล ชิ่งลาออกจากซีอีโอ ซิปเม็กซ์ ตั้งแต่ต้นเดือน แพลตฟอร์มเทรดคริปโตสุดฉาว

บริษัทซิปเม็กซ์ เอเชีย พีทีอี จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจเครือข่ายซื้อขายและรับฝากเงินคริปโทเคอร์เรนซี หรือเงินดิจิตอลชื่อดังจากสิงค์โปร์ โดยเปิดบริการในหลายประเทศในอาเซียนรวมในไทยด้วย ได้ส่งเอกสารถึงเจ้าหนี้ของบริษัทซิปเม็กซ์ เอเชีย พีทีอี จำกัด และบริษัทบริษัทซิปเม็กซ์ เอเชีย จำกัด ซึ่งประเด็นสำคัญในการชี้แจงอยู่ที่ นายเอกลาภ ยิ้มวิไล ได้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของซิปเม็กซ์ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2023 และการลาออกของมีผลทันที

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2023 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือก.ล.ต. ได้แจ้งกลับไปยังบริษัทซิปเม็กซ์ เอเชีย พีทีอี จำกัด ว่า ภายใต้กฎหมายการลงทุนของประเทศไทย ซิปเม็กซ์ ประเทศไทยมีเวลา 30 วันที่จะดำเนินการแต่งตั้งกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารแทน หากไม่ดำเนินการภายในกำหนด ก.ล.ต. กำหนดมาตรการลงโทษ ด้วยการเพิกถอน หรือยกเลิกใบอนุญาตประกอบธุรกิจของซิปเม็กซ์ ประเทศไทย ในประเทศไทย

ย้อนกับไปเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2023 ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตราดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รายงานคำสั่งเปรียบเทียบปรับนายเอกลาภ ยิ้มวิไล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด (Zipmex) และ บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด (Zipmex) รวม 13 กรณี เป็นเงินค่าปรับรวม 10,977,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น การเปรียบเทียบปรับ นายเอกลาภ กระทำผิดมาตรา 94 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล รวม 7 กรณี คิดเป็นค่าปรับรวม 5,821,000 ล้านบาท

นายเอกลาภ ยิ้มวิไล เป็นบุตรชายคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 3 คน ได้แก่ เอกเทศ เอกลักษณ์ และเอกลาภ ของดร.ไชยา ยิ้มวิไล อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักจัดการรายโทรทัศน์และวิทยุ กับ นางทิพย์สุดา ยิ้มวิไล

ด้านบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด (Zipmex) โพสต์ข้อความเกี่ยวกับระงับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลและฝากสินทรัพย์ทุกประเภทเป็นการชั่วคราว มีดังนี้

เรียนแจ้งลูกค้าบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด ว่า เพื่อให้การประกอบธุรกิจของบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด เป็นไปด้วยความเหมาะสม และถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนด

บริษัทจึงมีความจำเป็นที่จะต้องระงับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลและฝากสินทรัพย์ทุกประเภทเป็นการชั่วคราว โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป

ในการนี้ ลูกค้าทุกท่านยังสามารถถอนเงินบาทและสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ใน Trade Wallet ผ่านทางหน้าเว็บไซต์และแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือได้ตามปกติจนถึงวันที่ 31 มกราคม 2567
อย่างไรก็ตามกรณีของสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทซื้อขายได้อย่างเดียว (Trade Only) ให้ติดต่อผ่านเจ้าหน้าที่ Customer Support เพื่อดำเนินการถอนเท่านั้น

และหลังจากวันที่ 31 มกราคม 2567 เมื่อบริษัทระงับการถอนสินทรัพย์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์และแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ลูกค้าต้องติดต่อผ่านเจ้าหน้าที่ Customer Support เท่านั้น โดยสินทรัพย์ดิจิทัลอาจต้องใช้ระยะเวลา 7-14 วัน ขั้นตอนการถอนจึงจะแล้วเสร็จ
ทั้งนี้กรณีที่ลูกค้าทำรายการถอนสินทรัพย์ผ่านเจ้าหน้าที่ Customer Support ลูกค้าต้องจัดเตรียมเอกสารประกอบเพื่อยืนยันตัวตนและพิสูจน์ความเป็นเจ้าของบัญชีที่แท้จริงด้วย

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รายงานว่า ก.ล.ต.ได้ติดตามฐานะการเงินและสภาพคล่องของบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด (Zipmex) ซึ่งปรากฏว่า Zipmex ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (เงินกองทุน) ได้ตามที่กฎหมายกำหนดนับแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งตามข้อกำหนด ข้อ 16/1 ของประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 19/2561 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล

ในกรณีที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้ Zipmex ต้องระงับการประกอบธุรกิจทุกประเภท จนกว่าจะดำรงเงินกองทุนได้ และได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. ให้ดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ รวมถึงแจ้งให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการระงับการดำเนินธุรกิจทุกประเภทโดยไม่ชักช้า

ก.ล.ต. จึงสั่งการตามข้อ 16/1(3) ของประกาศดังกล่าว ให้ Zipmex ดำเนินการเพื่อให้สามารถดำรงสถานะเงินกองทุนได้ตามที่กำหนด และคำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ยื่นแผนการแก้ไขปัญหาการดำรงเงินกองทุนต่อ ก.ล.ต.
2. ดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาการดำรงเงินกองทุนที่ได้ยื่นต่อ ก.ล.ต. ตามข้อ 1 เพื่อให้สามารถกลับมาดำรงเงินกองทุนภายในระยะเวลาแผนดังกล่าว
3. ดำเนินการให้ลูกค้าสามารถถอน หรือโอนย้ายทรัพย์สินเงินบาท และสินทรัพย์ดิจิทัล โดยไม่ได้รับข้อติดขัดในการดำเนินการดังกล่าว
4. ให้ Zipmex เตรียมความพร้อมของระบบงาน และบุคลากรในจำนวนที่เพียงพอต่อการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและดำเนินการตามความประสงค์ของลูกค้าตามข้อ 3.

ทั้งนี้ ก.ล.ต. ให้ความสำคัญในการติดตามฐานะการเงินและสภาพคล่องของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด