แบงก์ชาติอยากเห็นสถาบันการเงินปล่อยกู้แบบพอดี ลูกหนี้ต้องชำระได้ มีเงินพอยังชีพ

245
0
Share:
แบงก์ชาติ อยากเห็นสถาบันการเงินปล่อย กู้ แบบพอดี ลูกหนี้ต้องชำระได้ มีเงินพอยังชีพ

ในงานสัมมนาใหญ่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประจำปี 2023 นายธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวเสวนาในหัวข้อเรื่อง “แนวนโยบายภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย เพื่อเศรษฐกิจดิจิทัล และการเติบโตอย่างยั่งยืน” ว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงต่อเนื่องจากโควิด-19 ปัญหาน้ำท่วม คนกู้เงินซ่อมแซมบ้าน ร้านค้า ทำให้ยอดหนี้ครัวเรือนพุ่งร้อยละ 90.5 ของจีดีพี หากเป็นหนี้เพื่อการอุปโภค บริโภคมากเกินไปสัดส่วนร้อยละ 66 จึงน่าเป็นห่วงเครื่องมือทางการเงินช่วยดูแลพฤติกรรมลูกหนี้ ธปท. อยากให้สถาบันการเงิน งดการโฆษณาการให้กู้มากเกินไป หากลูกหนี้เป็นหนี้เรื้อรัง เน้นจ่ายแต่ดอกเบี้ย ไม่ได้จ่ายเงินต้น จึงต้องการให้ปรับโครงสร้างหนี้ มุ่งเน้นลูกหนี้รายย่อย การพิจารณาปล่อยกู้ตามความเสี่ยงลูกหนี้ ชาร์จดอกเบี้ยตามความเสี่ยง

โดย ธปท. อยากเห็นการปล่อยกู้แบบพอดี เข้าไปดูระดับหนี้ ต้องชำระได้ มีเงินพอยังชีพ และยังต้องการให้ความรู้ การรักษาวินัยการเงิน ธปท. จึงต้องการเข้าไปดูแลปัญหาหนี้ครัวเรือน วินัยการเงินต้องเข้าไปตั้งแต่โรงเรียน มหาวิทยาลัย ให้รับรู้ความสำคัญ สำหรับปัญหาหนี้นอกระบบวงเงิน 54,300 บาทขึ้นไป ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซ็นต์ เมื่อรวมเงินต้นและดอกเบี้ยว วงเงินกู้กว่าแสนบาทต่อราย ไทยยังมีกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ การเงินชุมชน ช่วยดูแลบางส่วน แต่ยังมีอีกจำนวนมาก พึ่งพาเงินนอกระบบดอกเบี้ยสูง เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยง ไม่มีประวัติททางการเงิน จึงมี NoN Bank, นาโนไฟแนนซ์, ไมโครไฟแนนซ์ เปิดบริการในชุมชน อนุมัติสินเชื่อบุคคลเพิ่มขึ้น ปล่อยกู้ไม่สูงมากนัก

สำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่เพิ่งทำงาน ผู้ค้าขายออนไลน์ ขณะนี้ ธปท. เริ่มให้ใบอนุญาติเวอร์ชั่วแบงก์ (Virtual Bnak) ด้วยการประเมินดูข้อมูลจากการใช้มือถือ บิลค่าประปา ไฟฟ้า การใช้เงินในชีวิตประจำวัน ชำระเงินตรงเวลาหรือไม่ เพื่อนำมาประเมินการปล่อยกู้ โดยค่ายมือถือจับมือกับผู้ประกอบการ คาดเปิดบริการอีก 3 ราย รองรับความต้องการแหล่งเงินเพิ่ม หลังจากนั้นเมื่อพัฒนาโครงสร้างนระบบ เชื่อมโยงกัน เพื่อใช้ข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้มากขึ้น สำหรับข้อหนด CBAM ของยุโรป ยอมรับว่าอุตสาหกรรมราย่อยที่เป็นซับพลายเชน อย่างเช่น ไทยต้องเร่งปรับตัวตั้งแต่วันนี้ เมื่อถึงเวลาแล้ว หากไม่ทำจะลำบาก ได้รับผลกระทบต่อการส่งสินค้าไปให้เอกชนรายใหญ่ เนื่องจากต้องเจอกับการกีดกันทางการค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพื่อรองรับกระแสโลก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หากไม่ได้ทำต้องเจออุปสรรคอีกหลายด้าน

ส่วนการปล่อยกู้ในอนาคตต้องการประเมินความเสี่ยงลูกค้าจากการทำธุรกิจ ESG ต่อไปจะเริ่มทำมากขึ้นผ่านนโยบาย Thailand Taxonomy เป็นเครื่องมือให้สถาบันการเงินช่วยแนะนำให้ลูกค้าปรับตัว หากมีความเสี่ยงสูง ต้องหันไปสู่การป้องกันโลกร้อน มีการวางแผนให้ปรับตัวจากเแดง เหลือง เขียว โดยมีเวลาให้ปรับตัวและมีต้นทุนดอกเบี้ยลดลงหรือ การทำ green Finance โดยมี บสย. ช่วยค้ำประกัน