แบงก์ชาติเชียร์ธุรกิจลดใช้ดอลลาร์สหรัฐ หันพึ่งเงินหยวน และ 3 สกุลเงินเพื่อนบ้าน

2190
0
Share:
แบงก์ชาติ เชียร์ธุรกิจลดใช้ ดอลลาร์สหรัฐ หันพึ่ง เงินหยวน และ 3 สกุลเงินเพื่อนบ้าน

นางอลิศรา มหาสันทนะ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท. กล่าวว่า ค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาเคลื่อนไหวผันผวนสูงจากทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยเฉพาะในประเทศ จากการปรับขึ้นตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศหลัก จากความไม่แน่นอนสูง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงมุ่งเน้นผลักดันให้เกิดระบบนิเวศของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ (New FX ecosystem) มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ภาคเอกชนมีความพร้อมในการรับมือความผันผวนจากค่าเงินได้อย่างยั่งยืน จึงอยากให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน นักลงทุนมีทางเลือกในการลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อกระจายความเสี่ยง

ธปท. มีแผนสนับสนุนการใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการค้าขายระหว่างประเทศ เช่น สกุลเงินหยวน เยน มาเลเซียริงกิต และอินโดนีเซียรูเปีย ให้เป็นอีกทางเลือกในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยขณะนี้เงินหยวนถูกนำมาใช้ชำระเงินมากขึ้น 6.6% ในปี 65 และมีแนวโน้มสูงขึ้น ธปท. เตรียมหารือกับธนาคารกลางจีน ผ่อนปรนเงื่อนไข และให้ธนาคารพาณิชย์จีนอำนวยความสะดวกมากขึ้น

ขณะที่สกุลเยนของญี่ปุ่นเทียบกับเงินบาทของไทยใช้ชำระสินค้าในการค้าขายกับญี่ปุ่นมากขึ้น โดยใช้เงินบาทชำระเงิน 18.3% เงินเยน 28.7% สกุลดอลลาร์สหรัฐ 52.6% คาดว่าการใช้เงินบาทจะเริ่มสูงขึ้นการค้ากับญี่ปุ่น

ด้านน.ส.พิมพ์พันธ์ เจริญขวัญ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาดการเงิน ธปท. กล่าวว่า เงินบาทอ่อนค่าจากปัจจัยภายนอก และยังมีความผันผวนต่อไปอีก ช่วงที่ผ่านเงินบาทอ่อน 1.6% นับว่าดีกว่าหลายประเทศในภูมิภาค เช่น เกาหลีใต้อ่อนค่า 3% จีนหยวนอ่อนค่า 3.5% มาเลเซียริงกิตอ่อนค่า 5.9% ญี่ปุ่นเยนอ่อนค่า 7.8% ยังไม่เห็นสัญญาณผิดปกติรุนแรง

ขณะที่ น.ส.ชนานันท์ สุภาดุลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและกำกับแลกเปลี่ยนเงิน ธปท. กล่าวว่า หลังจากครบ 1 ปี ในการผ่อนปรนการโอนเงินไปต่างประเทศ โดยขยายเงินโอนจาก 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลงทุนไม่มีธุรกรรมรองรับซับซ้อน นับว่ามีนักลงทุนรายย่อยมีธุรกรรมเพิ่มขึ้น มีการเรียกเอกสารน้อยลงจากธุรกิจปลายทาง นอกจากนี้ยังขยายเงินลงทุนในหุ้นต่างประเทศของรายย่อยโดยไม่ผ่านตัวกลางจาก 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มเป็น 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลดภาระค่าธรรมเนียมให้กับรายย่อย