โควิด19 ทำคนไทยเครียด อยากทำร้ายตัวเอง ซึมเศร้ามากขึ้น

1094
0
Share:

นพ.จุมภฏ พรมสีดา รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่าได้ทำการสำรวจสภาพจิตใจคนไทยช่วงโควิด-19 มาแล้ว 6 ครั้ง คือ ช่วงเริ่มการระบาด ช่วงประกาศเคอร์ฟิว ช่วงสงกรานต์ ช่วงผ่อนปรนระยะที่ 1 // ช่วงผ่อนปรนระยะที่ 2 // ช่วงผ่อนปรนระยะที่ 3 โดยสำรวจ 4 เรื่อง คือ ความเครียด ภาวะหมดไฟ ซึมเศร้า และทำร้ายตัวเอง เเละได้พบว่าในช่วงผ่อนปรนระยะที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงต้นปลาย พ.ค. 2563 พบว่า ทั้งประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข มีภาวะเครียด หมดไฟ ซึมเศร้า และทำร้ายตัวเองเพิ่มมากขึ้น
.
ด้านความเครียด บุคลากรทางการแพทย์ มีความเครียดช่วงผ่อนปรนระยะที่ 3 เพิ่มขึ้นเป็นแต่ยังน้อยกว่าช่วงเริ่มการระบาด ขณะที่ประชาชนทั่วไปเครียดมากขึ้นในช่วงสำรวจครั้งที่ 2 ค่อยๆ ลดลง แต่หลังผ่อนปรนระยะที่ 3 เครียดเพิ่มขึ้น
.
ด้านภาวะหมดไฟ พบว่าลดลงในช่วงผ่อนปรนระยะที่ 1 และ 2 แต่กลับเพิ่มขึ้นในผ่อนปรนระยะที่ 3 เนื่องจากบุคลากรสาธารณสุขเมื่อการระบาดลดลง ผู้ป่วยทั่วไปเรื้อรังกลับเข้ามา ทำให้ภาระงานมากขึ้นกว่าเดิม ส่วนประชาชนเป็นเพราะความพยายามต่อสู้กับความยากลำบากต่างๆ
.
ด้านซึมเศร้า การผ่อนปรนระยะที่ 3 พบว่า บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น บุคลากรสาธารณสุข เพิ่มจาก 1.4% เป็น 3 % ประชาชนซึมเศร้าเพิ่มจาก 0.9% เป็น 1.6 % เช่นเดียวกับความคิดอยากทำร้ายตนเอง ก็มีมากขึ้นในช่วงผ่อนปรนระยะที่ 3 แต่ตรงนี้เพิ่มขึ้นไม่มาก
.
ทั้งนี้ “ภาวะเครียด หมดไฟ ซึมเศร้า อยากทำร้ายตนเอง ที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงผ่อนปรนระยะที่ 3 เนื่องจากกลับมาใช้ชีวิตที่ไม่ปกติเหมือนเดิม เพราะต้องระวังมากขึ้น ไปห้างก็ต้องเช็กอิน ใช้บริการขนส่งสาธารณะก็ต้องเว้นระยะห่าง ต้องระวังตัวตลอดเวลา
.
โดยให้สังเกตอารมณ์ปฏิกิริยาตนเองและคนรอบข้าง มีอะไรเครียด ซึมเศร้า อยากทำร้ายตัวเองหรือไม่ เช่น ซึมลง พูดน้อยลง หงุดหงิดมากขึ้น นอนไม่หลับ ใช้สารเสพติดมากขึ้น ถ้าเกิดอาการแบบนี้กับตัวเอง เห็นกับคนรอบข้าง ไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน หรือโทร. 1323 ส่วนทางด้านเศรษฐกิจเเละสังคม พบว่า คนไทยรู้สึกกังวลว่าหากติดเชื้อแล้วจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ส่วนการรับรู้ข่าวสารมีความกังวลเพิ่มขึ้นแม้การระบาดเมืองไทยลดลง แต่การระบาดในกลุ่มคนไทยที่กลับจากต่างประเทศตัวเลขยังไม่ชัดเจน