โลกมันเศร้า! คนไทยฆ่าตัวตายพุ่งสูงใน 10 ปีผ่านมา รับวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ในไทย

576
0
Share:

ดร.มินบิ ลี ศูนย์สุขภาพจิตแห่งเกาหลีใต้ ร่วมกับ รศ.เทียนนี วู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ดร.ชิโรชิกะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเทคนิงะ เทนคิไก และ นพ.ณัฐกร จำปาทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ เปิดเผยผลกระทบทางสุขภาพจิตในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19

นพ.ณัฐกร จำปาทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น กล่าวว่า อัตราฆ่าตัวตายในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2540-2563 หรือ 23 ปีผ่านมา พบว่า ตั้งแต่ประเทศไทยประสบปัญหาวิฤษติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง อัตราการฆ่าตัวตายก็เริ่มลดลง กระทั่งเราเผชิญกับปัญหาวิกฤตโควิด อัตราการฆ่าตัวตายจึงกลับมาเพิ่มสูงสุดอีกครั้งในรอบทศวรรษ โดยมีปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย

ขณะเดียวกัน ในปี 2563 ยังพบอีกว่าลักษณะของอาชีพที่พบการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นสูง ประกอบด้วย ผู้ประกอบอาชีพพนักงานและคนว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ขณะเดียวกันในกลุ่มของเกษตรกรและค้าขาย เพิ่มขึ้นเล็กน้อย หลักฐานตรงนี้ชี้ให้เห็นว่าหลักฐานการฆ่าตัวตาย เป็นปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจ ไม่ใช่ปัญหาทางสาธารณสุขอย่างเดียว

ด้าน ดร.มินบิ ลี กล่าวว่า ในช่วงวิกฤติโควิดภายในประเทศเกาหลีใต้ต่างมีอัตราการฆ่าตัวตาย และซึมเศร้าเพิ่มสูงขึ้น และประชาชนยังต้องการปรึกษาปัญหาทางด้านสุขภาพจิตในช่วงวิกฤติโควิด เพิ่มขึ้นถึง 20% ต่างจากเดิมในปี 2562 ที่มีเพียง 3.8%

อย่างไรก็ตาม สรุปปัจจัยที่มีผล คือความเครียด และภาวะซึมเศร้าที่พบมากขึ้นในตัวบุคคลและสังคมทั้งภายในประเทศ และหลายประเทศในเอเซีย ต่างมีความเชื่อมโยงกับการระบาดของโควิด