ไทยขาดแรงงานเมียนมา-ลาว-เขมร วูบหายจากไทยกว่า 50% ชนกลุ่มน้อยเข้าทะลักหางานในไทย

266
0
Share:
ไทยขาด แรงงาน เมียนมา - ลาว - เขมร วูบหายจากไทยกว่า 50% ชนกลุ่มน้อยเข้าทะลักหางานในไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ สอท. เปิดเผยว่า หลังผ่านพ้นสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ระดับรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2022 ผ่านมา พบว่าบรรดาแรงงานต่างด้าวหดหายไปจากประเทศไทยอย่างมาก โดยเฉพาะแรงงานประเทศเพื่อนบ้านใน 3 ประเทศที่มีชายแดนติดกันกับประเทศไทย ได้แก่ เมียนมา(พม่า) สปป.ลาว และกัมพูชา

ผลสำรวจของสอท. พบว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ประเทศไทยมีจำนวนแรงงานต่างด้าวรวม 1,405,809 คน ลดลง 52% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ในไทย

เมื่อเปรียบเทียบเดือนธันวาคม 2562 ซึ่งเป็นช่วงโรคระบาดโควิด-19 กับเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งเป็นช่วงหลังวิกฤตการระบาดของโรคดังกล่าว พบว่าแรงงานชาวเขมร หรือกัมพูชา มีอัตราลดลงมากที่สุดใน 3 ประเทศเพื่อนบ้าน คือ 70.54% จากเดิมเคยมีจำนวน 687,009 คน มาเหลือเพียง 202,364 คน

แรงงานเมียนมา ซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวที่มีทั้งจำนวนและสัดส่วนในประเทศไทยมากที่สุดเป็นอันดับ 1 นั้น พบว่า มียอดแรงงานเมียนมาลดลง 53.55% จากเดิมที่ 1,825,979 คน เหลือเพียง 848,173 คน สำหรับแรงงานชาวสปป.ลาวอยู่ในทิศทางลดลงเช่นเดียวกัน โดยเคยมีจำนวน 281,345 คน ลดลงเหลือ 133,859 คน หรือลดลง 52.42%

สาเหตุเกี่ยวกับภาวะการขาดแคลนแรงงานในประเทศไทยที่รุนแรงทุกวันนี้ เนื่องจากตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีผลให้แรงงานต่างด้าวต้องกลับประเทศ ซึ่งแรงงานชาวเมียนมากลับประเทศมากที่สุด นอกจากนี้มีแรงงานผิดกฎหมายทะลักเข้ามาในไทยเป็นจำนวนมาก สถาบันการศึกษาในประเทศไทยไม่สามารถผลิตบุคลากรได้ทัน หรือไม่ตรงตามที่ตลาดต้องการ

สอท. คาดการณ์ว่าในปีนี้ ประเทศไทยจะขาดแคลนแรงงานต่างด้าวระหว่าง 350,000-500,000 คน ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดโควิด-19 จะคลี่คลายลงไปมากก็ตาม

สอท. เปิดเผยต่อไปว่าปัจจุบันมีแรงงานถูกจัดอยู่ในประเภทชนกลุ่มน้อยเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยมีสัดส่วนเพิ่มสูงถึง 96.05% หรือเกือบ 100,000 คน

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ได้เปิดเผยผลการสำรวจความต้องการแรงงานในประเทศไทย ซึ่งทำการสำรวจผ่านโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ พบว่าปี 2565 พบว่าอุตสาหกรรมไทยเผชิญภาวะขาดแคลนแรงงานทุกระดับรวมกันเป็นจำนวน 168,992 คน ประกอบด้วย แรงงานระดับปริญญาตรีขึ้นไปถึง 29,037 คน แรงงานระดับ ปวช. – ปวส. 38,079 คน แรงงานระดับ ป.6 – ม.6 96,786 คน และแรงงานอื่นๆ อีก 5,090 คน