ไทยเผชิญภัยคุกคามทางเศรษฐกิจมากอันดับ 2 ของโลกรับหลายปัจจัย เงินเฟ้อสูง อาชญากรรมพุ่ง

177
0
Share:
ไทย เผชิญภัยคุกคามทาง เศรษฐกิจ มากอันดับ 2 ของโลกรับหลายปัจจัย เงินเฟ้อสูง อาชญากรรมพุ่ง

จีฟอร์เอส (G4S) ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการการรักษาความปลอดภัยชื่อดัง เปิดเผยรายงานความปลอดภัยโลก หรือ Global Safty Report ซึ่งทำการสำรวจจากระดับหัวหน้ารักษาความปลอดภัย หรือ Chief Safety Officer หรือ CSO จำนวน 1,775 คนในกว่า 30 ประเทศ ซึ่งมาจากบริษัทชั้นนำขนาดใหญ่ระดับโลกที่มีรายได้รวมกันทั้งหมดมากกว่า 20 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 740 ล้านล้านบาท

รายงานดังกล่าวเฉพาะที่เกี่ยวกับประเทศไทย พบว่า บริษัทชั้นนำขนาดใหญ่ในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับการเกิดอาชญากรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้นในปี 2024 ที่สำคัญ มีอัตราการเกิดอาชญากรรมทางเศรษฐกิจสูงกว่าประเทศอื่นๆ ทั่วโลกที่อยู่ในผลสำรวจนี้ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกา

ผลการตอบแบบสำรวจในประเทศไทย ยังพบว่า ภัยคุกคามที่เกิดจากอาชญากรรมทางเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นจากในปี 2023 ที่ 46% ขึ้นเป็น 65% ในปี 2024 ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวของไทยเพิ่มสูงขึ้นเป็นอันดับ 2 ของโลก และในปีหน้า ค่าเฉลี่ยภัยคุกคามที่เกิดจากอาชญากรรมทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคอยู่ที่ 51% และค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 49% ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยดังกล่าวสูงเกินกว่าทั้งภูมิภาคและทั่วโลก

ในด้านการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นภัยคุกคามที่เกิดขึ้นภายนอกประเทศเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทยมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกันถึง 39% ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2022 โดยที่ค่าเฉลี่ยการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นภัยคุกคามภายนอกของภูมิภาคอยู่ที่ 26% และค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 19% ทำให้ประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยดังกล่าวสูงเกินกว่าทั้งภูมิภาคและทั่วโลก

สอดคล้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เป็นภัยคุกคามที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทย พบว่าเป็นปัญหาใหญ่สูงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคจากปีผ่านมาถึง 41% นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เป็นภัยคุกคามเกิดขึ้นภายในประเทศของภูมิภาคอยู่ที่ 30% และค่าเฉลี่ยทั่วโลกคือ 27% ทำให้ประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยดังกล่าวสูงเกินกว่าทั้งภูมิภาคและทั่วโลก

ด้านการเข้าถึงข้อมูลของบริษัทหรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต ถือว่าเป็นภัยคุกคามภายในของประเทศไทยที่ใหญ่กว่าประเทศอื่นๆ โดยมีถึง 46% จากปีที่ 2022 ที่สำคัญปัญหาดังกล่าวของไทยมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าของภูมิภาคซึ่งอยู่ที่ 37% และค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 31% ทำให้ประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยดังกล่าวสูงเกินกว่าทั้งภูมิภาคและทั่วโลก

เมื่อพิจารณาภัยคุกคามภายนอกที่มีผลกระทบมากที่สุดในปี 2024 คาดว่าจะเป็นการขโมยทรัพย์สินทางกายภาพของบริษัท โดย 39% ขององค์กรภาคประชาสังคม (Civil Society Organization: CSO) กล่าวว่า สถานการณ์ดังกล่าวเป็นกังวลเป็นอย่างมาก เนื่องจากแนวโน้มปัญหาก่ออาชญากรรมในประเทศไทยสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ค่าเฉลี่ยการขโมยทรัพย์สินทางกายภาพของบริษัทของภูมิภาคอยู่ที่ 24% และค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 23%

ณัฐณิชา สุวรรณศักดิ์สิน กรรมการผู้จัดการ G4S ประเทศไทย กล่าวว่า “งานวิจัยฉบับนี้ เน้นย้ำถึงความกังวลและปัญหาที่พบในประเทศไทย ซึ่งอัตราค่าครองชีพที่สูงขึ้น อาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อย่างปัญหาการโจรกรรม อย่างไรก็ตาม บริษัทต่างๆ ต่างกระตือรือร้นในการพัฒนาและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาปรับใช้ในการป้องกันและรับมือกับภัยคุกคามดังกล่าว

องค์กรภาคประชาสังคม (CSO ) มองว่าภาวะสงครามหรือความไม่มั่นคงทางการเมืองเป็นอันตรายต่อความมั่นคงในปีหน้า คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นจาก 15% เป็น 43% และคาดว่าเหตุการณ์ภาวะความไม่สงบในสังคมจะเพิ่มสูงขึ้นจาก 14% เป็น 31% เช่นเดียวกัน

ซานเจย์ เวอร์มา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร G4S ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า เอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลก ในขณะเดียวกันก็เป็นศูนย์กลางของความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มมากขึ้นด้วย