ไปซื้อก่อน! ชาวไร่อ้อย 4 องค์กรหลักลั่นเส้นตาย 5 พ.ย. ปิดโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศไทย

224
0
Share:
ไปซื้อก่อน! ชาวไร่อ้อย 4 องค์กรหลักลั่นเส้นตาย 5 พ.ย. ปิดโรงงานน้ำตาล ทั่วประเทศไทย

นายมนตรี เลาหศักดิ์ประสิทธิ์ นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 เปิดแถลงข่าววันนี้ 1 พฤศจิกายน 2566 ว่าได้มีการประชุมกันทั้ง 4 องค์กรหลัก ได้แก่ สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ได้ข้อสรุปตรงกันว่า ให้กำหนดมาตรการขั้นเด็ดขาดด้วยการปิดโรงงานผลิตน้ำตาลทั่วประเทศพร้อมกันในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2566 เพื่อไม่ให้นำน้ำตาลในส่วนของเกษตรกรชาวไร่อ้อยราว 70% ออกมา เนื่องจากเมื่อจำหน่ายน้ำตาลไปแล้วก็ขาดทุน ส่วนน้ำตาลที่เหลืออีก 30% ซึ่งเป็นโควต้าของโรงงานก็จะปล่อยเป็นเรื่องโรงงาน ทั้ง 4 องค์กรหลักไม่ยุ่งเกี่ยวหากจะปล่อยไปจำหน่าย อย่างไรก็ตาม การเตรียมปิดโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศในครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำตาลในฤดูหีบอ้อย

นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 กล่าวว่า มาตรการการปิดโรงงานน้ำตาลในครั้งนี้ เพื่อต้องการให้รัฐบาลโดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้คำตอบการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรในส่วนเงิน 2 บาท ให้ชัดเจนว่าจะทำอย่างไร สำหรับเงินจำนวน 8,000 ล้านบาทที่จะช่วยเหลือการตัดอ้อยปี 2565/66 คิดเป็นตันละ 120 บาท ซึ่งค้างแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยจะทำอย่างไร ซึ่งการปิดโกดังในครั้งนี้ถือเป็นมาตรการขั้นเด็ดขาดจนกว่าจะได้ข้อสรุปในการช่วยเหลือจากรัฐบาลที่ชัดเจน

นายมนตรี เลาหศักดิ์ประสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า การปรับขึ้นราคาน้ำตาล 4 บาท เมื่อวันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น เป็นมติความเห็นชอบของคณะกรรมการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล(กน.) ที่พิจารณาแล้วเห็นว่าสถานการณ์น้ำตาลโลกในปัจจุบันมีราคาที่สูงกว่าประเทศไทยจำนวนมาก ขณะที่ราคาจำหน่ายน้ำตาลอยู่ที่กิโลกรัมละ 20-23 บาท แต่ราคาของตลาดโลกจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 40-50 บาท

นอกจากนี้ เมื่อประมาณปี 2560/2561 ประเทศบราซิลซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของโลกฟ้องร้องประเทศไทยในประเด็นราคาน้ำตาลของประเทศไทย ที่รัฐบาลได้เข้าไปอุดหนุนราคาน้ำตาลช่วยเหลือขาวไร่ จนทำให้เกิดผลกระทบต่อการจำหน่ายน้ำตาลในตลาดโลก รัฐบาลจึงได้ปล่อยให้ราคาอ้อยและน้ำตาลลอยตัวมา 3-4 ปี ส่งผลให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยต้องแบกรับภาระการขาดทุนมาโดยตลอด

ดังนั้น วันนี้การปรับราคาน้ำตาล 4 บาทซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนที่ 1 เงินจำนวน 2 บาท แบ่งให้กับกองทุนน้ำตาล 2 บาท และอีก 2 บาท เป็นการช่วยเหลือก็ช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่แบกรับปัญหา โดยเฉพาะต้นทุนการผลิต หรือการปลูกอ้อยมีราคาที่สูงมาเป็นเวลานาน