ไฟเซอร์เปิด 2 ปัจจัยสำคัญอาจต้องผลิตวัคซีนสู้โอไมครอน คาดสูตรใหม่พร้อมใช้มี.ค. 65

502
0
Share:

นายมิคาเอล โดลสเท็น หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ บริษัท ไฟเซอร์ อินคอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ความจำเป็นในการผลิตวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ใหม่เพื่อป้องกันการระบาดสายพันธุ์โอไมครอนนั้น จะขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยสำคัญ ซึ่งถ้าเชื้อสายพันธ์ุโอไมครอนเกิดการพัฒนาไปเรื่อยๆจนทำให้ 2 ปัจจัยสำคัญนี้เกิดขึ้นพร้อมกัน ทำให้ต้องผลติวัคซีนสูตรใหม่เพื่อป้องกันการติดเชื้อ การรักษาไม่ให้มีอาการป่วยรุนแรง และการเสียชีวิต

หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ไฟเซอร์ กล่าวว่า 2 ปัจจัยสำคัญที่ยังไม่เป็นที่ทราบให้ชัดเจนกว่านี้ อาจต้องใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ข้างหน้านี้ไป ปัจจัยแรก คือประสิทธิภาพของวัคซีนสูตรปัจจุบันสามารถป้องกันเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนได้หรือไม่? หรือได้มากน้อยแค่ไหน? คำตอบที่ชัดเจนในขณะนี้ คือประสิทธิภาพของวัคซีนสูตรปัจจุบันในการป้องกันลดลง ในการประเมินเบื้องต้นต้น มองว่าถ้าระดับภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง 10 เท่า นั่นหมายถึงประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 สูตรปัจจุบันไม่เพียงพอที่จะป้องกันได้ ความจำเป็นในการพัฒนาวัคซีนตัวใหม่จึงต้องเกิดขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญในวงการแพทย์ส่วนใหญ่ล้วนมีความเห็นตรงกัน และคาดการณ์ว่าสายพันธุ์โอไมครอนลดระดับภูมิต้านทานลง ทำให้การทดลองเพื่อหาข้อสรุปให้ชัดเจนที่สุดจึงอยู่กับคำถามที่ว่าระดับภูมิต้านทานในร่างกายที่ลดลงมากเท่าไหร่ซึ่งเกิดขึ้นจากสายพันธุ์โอไมครอน
ปัจจัยที่สอง คือ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอไมครอนจะระบาดรุนแรงเป็นวงกว้างไปจนกระทั่งกลายเป็นสายพันธุ์หลักในการระบาดทั่วโลกและแทนที่สายพันธุ์เดลต้าหรือไม่?

นายมิคาเอล โดลสเท็น หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ บริษัท ไฟเซอร์ อินคอร์ปอเรชั่น กล่าวว่าเป็นการเร็วเกินไปที่จะมีคำตอบในปัจจัยที่สองนี้ แต่เราจะรู้พฤติกรรมของสายพันธุ์โอไมครอนกับคำถามนี้ภายในเดือนธันวาคม ในเบื้องต้น ประเมินได้ว่า ถ้าสายพันธุ์โอไมครอนระบาดเป็นวงกว้างและรุนแรงจนขึ้นมาแทนที่สายพันธุ์เดลต้าเป็นสายพันธุ์หลักของโลก ความจำเป็นในการพัฒนา และผลิตวัคซีนสูตรใหม่ต้องเกิดขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากไม่ระบาดจนเป็นสายพันธุ์หลักแทนที่สายพันธุ์เดลต้าได้ วัคซีนสูตรใหม่อาจไม่จะเป็นและไม่เป็นที่ต้องการก็เป็นไปได้

ก่อนหน้านี้ ไฟเซอร์ อินคอร์ปอเรชั่น ได้พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะทั้งสายพันธุ์เบต้า และเดลต้า แต่กลับไม่มีความจำเป็นในการนำมาใช้งานจริงทั้งสูตรใดสูตรหนึ่ง สาเหตุจากสายพันธุ์เบต้าสูญพันธุ์ไป ในขณะที่วัคซีนสูตรปัจจุบันที่ใช้งานจริงทั่วโลกมีประสิทธิภาพในการป้องกันสายพันธุ์เดลต้าอย่างเพียงพอ

อย่างไรก็ตาม นายมิคาเอล โดลสเท็น หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ไฟเซอร์ ได้เตรียมแผนในกรณีที่เลวร้ายที่สุด คือ ทั้ง 2 ปัจจัยข้างต้นเกิดขึ้นพร้อมกัน ไฟเซอร์ อินคอร์ปอเรชั่น จะเร่งผลิตวัคซีนสูตรใหม่รับมือกับสายพันธุ์โอไมครอนโดยพร้อมใช้งานในเดือนมีนาคมปี 65 ถ้าหากจำเป็นจริงๆ โดยเตรียมกำลังการผลิตวัคซีนสูตรใหม่นี้ได้ถึง 80 ล้านโดสต่อสัปดาห์ ถ้าหากต้องใช้กำลังการผลิตเต็มเพดานสูงสุด ไฟเซอร์สามารถผลิตวัคซีนสูตรใหม่ได้ถึง 1,000 ล้านโดสต่อไตรมาส หรือเฉลี่ยเดือนละ 333 ล้านโดส

ทั้งนี้ ไฟเซอร์ อินคอร์ปอเรชั่น จะได้ข้อสรุปกระบวนการ และกำลังการผลิตวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 65 สำหรับขั้นตอนการทดลองในขั้นตอนทางคลินิกนั้น นายมิคาเอล โดลสเท็น กล่าวว่าไม่มีความจำเป็นเหมือนกับในช่วงที่พัฒนาวัคซีนในครั้งแรก