ไม่อยากขึ้น! เอกชนเกินครึ่งไม่อยากปรับขึ้นราคาสินค้า แต่หวั่นต้นทุนพุ่งกดดันต้องขึ้นราคาขาย

133
0
Share:

ผลสำรวจความเชื่อมันทางธุรกิจเฉพาะ หรือ BSI ประจำเดือนมกราคม 2567 พบว่า ธุรกิจส่วนใหญ่ตั้งเป้าหมายยอดขายในปี 2567 ขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อนโดยเป้าหมายยอดขายในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีกว่าเป้าหมายสำหรับส่งออกและธุรกิจที่ตั้งเป้าหมายยอดขายเพิ่มขึ้นจากปีก่อนโดยมากเป็นธุรกิจขนาดใหญ่

ทั้งนี้ พบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในธุรกิจที่พักแรม ธุรกิจผลิตอาหาร และธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์เคมีตั้งเป้าหมายยอดขายเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยเฉพาะยอดขายในประเทศตามการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ในธุรกิจผลิตยานยนต์และชิ้นส่วน และผลิตผลิตภัณฑ์อโลหะ เช่น ปูนซิเมนต์และเซรามิค แม้ว่าส่วนใหญ่คาดว่ายอดขายจะทรงตัวจากปีก่อน แต่มีสัดส่วนผู้ประกอบการที่คาดว่ายอดขายทั้งในประเทศ และส่งออกจะลดลงซึ่งสูงกว่าธุรกิจอื่น

แนวโน้มการปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการ (เทียบกับราคาปัจจุบัน) และปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับราคานั้น พบว่าโดยรวมธุรกิจกว่าครึ่งคาดว่าจะไม่ปรับราคาสินค้าและบริการในอีก 3 เดือนข้างหน้า ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อน แต่หากพิจารณาในกลุ่มธุรกิจที่จะปรับราคาขึ้น ส่วนใหญ่จะปรับราคาไม่เกิน 5% จากปัจจุบัน โดยต้นทุนที่โน้มสูงขึ้นเป็นปัจจัยกดดันหลัก อย่างไรก็ตาม ธุรกิจ SMEs มีแนวโน้มปรับราคาได้ยากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่

ทั้งนี้ ธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่โลหะมีสัดส่วนธุรกิจที่จะปรับขึ้นราคามากขึ้นกว่าการส ารวจครั้งก่อน โดยธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวบางกลุ่มจะปรับเพิ่มถึง 11-15% จากปัจจุบัน แต่ธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่โลหะส่วนใหญ่จะปรับเพิ่มราคาในอัตราที่น้อยกว่าผลสำรวจครั้งก่อน

ทั้งนี้ ปัจจัย 4 อันดับแรกที่ส่งผลต่อการปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการ 1.ต้นทุนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 82.1% 2.ยังส่งผ่านต้นทุนไม่หมด 33.1%  3.เพื่อรักษาระดับอัตรากำไร 31.3% 4. ราคาสินค้าอื่นปรับเพิ่มขึ้น 30.1%