ไอเอ็มเอฟชี้เศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกโดดเด่นกว่าทุกทวีป เพิ่มเป้าจีดีพีปีนี้อีกเล็กน้อย

232
0
Share:
ไอเอ็มเอฟ ชี้ เศรษฐกิจ เอเชียแปซิฟิก โดดเด่นกว่าทุกทวีป เพิ่มเป้าจีดีพีปีนี้อีกเล็กน้อย

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ เปิดเผยว่า ได้ปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพีทวีปเอเชียปี 2023 เพิ่มขึ้น 0.3% จากเดิมที่เคยคาดการณ์ในเดือนตุลาคมว่าจะขยายตัวที่ 4.3% ขึ้นมาเป็น 4.6% สาเหตุจาก เศรษฐกิจเอเชียในปีนี้มีความเคลื่อนไหวที่โดดเด่นและตลอดเวลาเมื่อเปรียบเทียบกับภาวะเศรษฐกิจในทวีปอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งจะคิดเป็น 70% ของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้

ไอเอ็มเอฟ เปิดเผยว่าเศรษฐกิจจีนแผ่นดินใหญ่และอินเดีย จะเป็นสองเครื่องยนต์เศรษฐกิจหลักที่จะขยายตังที่ 5.2% และ 5.9% ตามลำดับ ด้วยการบริโภคภายในประเทศของทั้ง 2 แห่ง ได้รับการคาดการณ์ว่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญทั่วทวีปเอเชีย ในขณะที่การขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศอื่นๆ ของเอเชียถูกมองว่าจะฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในปีนี้

ด้านเศรษฐกิจจีนแผ่นดินใหญ่ ไอเอ็มเอฟ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจจีนจะยังคงเป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งภูมิภาคเอเชีย แต่ภาคอสังหาริมทรัพย์จีนยังคงปัจจัยเสี่ยงสูง ซึ่งทำให้ผู้กำกับนโยบายมีความจำเป็นที่จะต้องจัดการแก้ไขปัญหา เพื่อสร้างความมั่นใจในการฟื้นตัวอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ

อย่างไรก็ตาม ไอเอ็มเอฟตัดลดตัวเลขจีดีพีของเศรษฐกิจเอเชียในปี 2024 ลง 0.2% มาเหลืออยู่ที่ 4.4% พร้อมเตือนว่าปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกจะอยู่ที่ภาวะเงินเฟ้อในระดับสูงต่อเนื่อง ความต้องหาบริโภคทั่วโลกชะลอตัวลง และผลกระทบจากปัญหาธนาคารพาณิชย์ล้มในสหรัฐอเมริกาและยุโรป

ถึงแม้ว่าจนถึงปัจจุบันนี้ ผลกระทบจากปัญหาภาคสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาและยุโรปจะเกิดขึ้นในขอบเขตระดับหนึ่ง เศรษฐกิจเอเชียยังคงมีความเปราะบางต่อสภาวะการเงินตึงตัว และภาวะราคาสินทรัพย์ที่จะฟื้นตัวอย่างฉับพลันในอนาคต

นอกจากนี้ ท่ามกลางประเทศในทวีปเอเชียมีเงินทุน และสภาพคล่องสะสมสูงมากพอที่จะตั้งรับกับความผันผวนในตลาดก็ตาม แต่ประเทศในทวีปเอเชียมีจุดเปราะบางด้านหนี้ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนที่สูง ซึ่งจะได้รับผลกระทบอย่างมากเมื่อภาวะต้นทุนการเงินเพิ่มสูงขึ้น

ไอเอ็มเอฟเรียกร้องให้บรรดาธนาคารกลางในเอเชียยกเว้นจีนแผ่นดินใหญ่และญี่ปุ่น ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นต่อไป เพื่อลดอัตราเงินเฟ้อให้กลับเข้าสู่เป้าหมาย ซึ่งพบว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ทำให้กระทบกำลังซื้อและบริโภคภายในประเทศ

ความล้มเหลวในการลดอัตราเงินเฟ้อให้เข้าเป้าหมายไม่ได้ จะกลายเป็นต้นทุนสำคัญอย่างมากและจะมากกว่าที่จะได้ประโยชน์จากการผ่อนคลายดอกเบี้ยระยะสั้นในข่วงเวลาที่เหมาะสมมาถึงในอนาคต