AIS ดัน 5G ครบ 77 จังหวัด พร้อมร่วมฟื้นฟูประเทศไทย

752
0
Share:

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา วิกฤตโควิด-19 นำมาซึ่งผลกระทบอย่างรุนแรงไปทั่วโลกยิ่งกว่าวิกฤตอื่นๆที่เคยมีมา และก่อให้เกิด “ชีวิตวิถีใหม่” ที่ไม่มีวันกลับไปเหมือนเดิมแบบทันทีทันใดในทุกระดับ โดยจะเห็นปรากฏการณ์เป็น 3 ช่วง คือ ช่วงตกต่ำจากวิกฤต หรือ FALL ต่อมาคือ ช่วงแห่งการต่อสู้เพื่อให้ก้าวผ่านวิกฤตไปให้ได้ หรือ FIGHT และช่วงสร้างอนาคตอย่างยั่งยืน ซึ่งในทุกช่วงเวลาล้วนแล้วแต่ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเข้ามาเป็นฐานรากที่แข็งแกร่งเพื่อช่วยประคับประคองและเสริมขีดความสามารถ
.
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด อย่าง AIS 5G ที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ดิจิทัลเส้นใหม่ ที่ได้เริ่มนำมาใช้ช่วยเหลือ เพื่อหล่อเลี้ยงประเทศจากวันนี้เป็นต้นไป
.
ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี เอไอเอสได้ลงทุนมากกว่า 1.1 ล้านล้านบาท และในปีนี้ได้เตรียมงบลงทุนไว้ที่ 35,000-45,000 ล้านบาท ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อคนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเอไอเอสเป็นผู้ให้บริการ Digital Life Service Provider ที่ถือครองคลื่นความถี่มากที่สุด คือ LOW BAND (700-900 MHz) 50 MHz, MID BAND (1800-2600 MHz) 170 MHz และ HIGH BAND (26 GHz) 1200 MHz และเปิดให้บริการ AIS 5G เป็นรายแรกของประเทศตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 พร้อมขยายเครือข่ายไปครบทั้ง 77 จังหวัดเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่เดือนพฤษภาที่ผ่านมา”
นวัฒกรรม AIS 5G ที่ทำให้ประเทศไทยเป็นกลุ่มแรกของโลกที่นำมาใช้งานจริงประกอบไปด้วย
.
5G Dual Mode SA/NSA
ประเทศไทย เป็นกลุ่มแรกของโลกที่ใช้ เทคโนโลยี SA – Stand Alone และ NSA – None Stand Alone Dual Mode ที่สามารถผสมผสานระหว่าง เครือข่าย 5G โดยเฉพาะ และเครือข่าย 5G ที่ทำงานร่วมกับ 4G พร้อมรับอนาคตในการใช้งาน 5G ในหลากหลายประโยชน์ในรูปแบบ Massive IoT และ Mission Critical
.
5G Network Slicing
ครั้งแรกของเมืองไทย กับเทคโนโลยี 5G Network Slicing ที่เสมือนมีหลากหลายเครือข่ายอยู่ในเครือข่ายเดียว (Multi Network In One Network) ทำให้เราสามารถออกแบบเครือข่ายแต่ละชั้นได้อย่างสอดคล้องและยืดหยุ่นกับลักษณะของอุตสาหกรรมแต่ละรูปแบบ แต่ละพื้นที่ ได้อย่างคล่องตัว เต็มประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การทำธุรกิจของแต่ละองค์กรได้อย่างเต็มที่
.
จากขีดความสามารถของเครือข่าย AIS 5G เมื่อผสมผสานเข้ากับคุณสมบัติของ 5G คือ ความเร็ว แรง เสถียร, สนับสนุนและยกระดับการใช้งาน Multi Media Content สู่ VR หรือ AR, รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoTได้ในจำนวนมหาศาล และมีอัตราการตอบสนองที่รวดเร็วจากความหน่วงต่ำ จึงยิ่งทำให้ 5G เหมาะสมอย่างยิ่งต่อการเสริมขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมหลักทั้งหมด ที่จะเป็นกลไกในการฟื้นฟูประเทศนั่นเอง ในแต่และภาคส่วนดังต่อไปนี้
.
1) ภาคสาธารณสุข AIS 5G ทำงานร่วมกับ Robot และ AI เข้าไปสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการ คัดกรองคนไข้ (Robot for Care), Telemedicine, AI Assisted CT SCAN และ Mobile Stroke Unit ตลอดช่วงระยะของการแพร่ระบาดรุนแรง จนถึงการผนึกกำลังกับเครือข่ายพันธมิตร (Strategic Partner) เพื่อพัฒนา Telemedicine อย่างต่อเนื่อง
.
(2) ภาคอุตสาหกรรมในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก 5G ในฐานะ ICT Infrastructure เพื่อเสริมขีดความสามารถในการบริหารจัดการในทุกๆส่วนงาน
.
3) ภาคการค้าปลีก AIS 5G อยู่ระหว่างการพัฒนา 5G Smart Retail ร่วมกับกลุ่มเซ็นทรัลรีเทล ในฐานะหัวหอกสำคัญของภาคอุตสาหกรรมค้าปลีก ที่ครอบคลุมตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ของการใช้ชีวิตของคน ในฐานะการกระจายรายได้ระหว่างผู้ผลิตกับผู้ซื้อ รวมถึงมีอัตราการจ้างงานถึง 2 ใน 3 ของประเทศ
.
4) Multimedia ใหม่สร้าง Immersive Experience โดย 5G Immersive Experience กับเทคโนโลยี AR / VR พร้อมร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สร้างประสบการณ์ใหม่ของ Unseen Thailand ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมถึง คอนเทนต์ด้านการศึกษา และความบันเทิง พลิกโฉมการสร้างสรรค์คอนเทนท์ของ Creator สัญชาติไทย ด้วย Next Reality Studio – AR/VR Studio แห่งแรกของเมืองไทย
.
(5) Sustainability Development โดยใช้ 5G กับการพัฒนา สิ่งแวดล้อม การเกษตร และการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยผนึกพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สร้าง SDG Lab ในพื้นที่ 100 ไร่ ใน อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี หรือสวนป๋วย ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ต้นแบบการรณรงค์ให้คนไทยเห็นความสำคัญของการดูแลสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมที่สุดแห่งหนึ่ง”