อสังหาฯ ไทยอึดอัด ชี้ตลาดตกต่ำสุดในรอบ 6 ปี ยอดขาย-โอนติดลบแรงถึง 25%

อสังหาริมทรัพย์ ไทยอึดอัด ชี้ตลาดตกต่ำสุดในรอบ 6 ปี ยอดขาย-โอนติดลบแรงถึง 25%

นายประเสิรฐ แด่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผยในงานสัมมนา Dailynews Talks หัวข้อโจทย์ใหญ่ อสังหาริมทรัพย์ไทยฟื้นอย่างไรให้ยั่งยืน ว่าไตรมาสแรกปีนี้ที่ผ่านมา ตลาดมียอดขายติดลบ 25-30% ต่ำสุดในรอบ 6 ปี เช่น ทาวน์เฮาส์ ยอดต่ำสุดในรอบ 12 ปี หลังจากน้ำท่วม ขณะที่บ้านเดี่ยวอาจจะยังอยู่ได้ เพราะมีคนจีนมาซื้อผ่านนอมินี ขณะที่ฝั่งยอดโอนก็ติดลบทุกตัวเหมือนกัน ลบ 25% ซึ่งเป็นการติดลบทั้งสองฝั่ง ทั้งทาวน์เฮาส์บ้านเดี่ยว คอนโดฯ ซึ่งตนทำงานด้านนี้มา ไม่เคยเจอเหตุกาณ์แบบนี้มาก่อน เพราะกำลังซื้อคนไทยซื้อไม่ได้

อย่างไรก็ตาม ในแง่ผู้ซื้อเป็นชาวต่างชาติที่ซื้อคอนโดมิเนียมถูกต้องตามกฎหมายนั้น ในไตรมาสแรกยังดีอยู่โต 10% ปีต่อปี แต่ยังติดลบจากไตรสมาสที่แล้วถึงลบ 21% โดยอสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทยเป็นบ้านหลังที่สองของต่างชาติไปแล้ว ดูได้จากตัวเลขโอนต่างชาติปีต่อปีโต 5% ในคอนโดฯ ทั้งประเทศ สำหรับจังหวัดที่มีการโอนคอนโดมิเนียมยอดนิยม ได้แก่ กทม. ชลบุรี และภูเก็ต ดีมานด์จากต่างชาติมีผู้ซื้อจากจีน เมียนมา และไต้หวัน เป็นกลุ่มผู้ซื้อหลัก จึงถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องจัดระเบียบตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

โดยมั่นใจประเทศไทย อสังหาริมทรัพย์จะเป็นตัวปรับโครงสร้างเศรษฐกิจได้ รองจากท่องเที่ยว ควรทำแบบสิงคโปร์ ตะวันออกลาง ซึ่งประเทศไทยมีภูมิประเทศไทยดีกว่ามาก จึงเสนอแนะการกระตุ้นตลาดระดับกลาง โดยตลาดล่างกระตุ้นไม่ขึ้นแล้ว และปรับการถือครองคอนโดมิเนียมชาวต่างชาติจากเดิม 49% เป็น 69% ทำกองทุนสนับสนุนการที่อยู่อาศัยผู้รายได้น้อยถึงปานกลางแห่งชาติ และใช้การพัฒนาโครงการอสังหาฯ ขนาดใหญ่ของไทย MAN MADE ในการสร้างศักยภาพในการแข่งขัน สร้างความน่าสนใจแรงดึงดูดทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญ อยากเสนอให้กระทรวงคลัง กับธปท. ทำงานร่วมมือกัน เพื่อกู้วิฤกติของประเทศในปัจจุบัน

นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวต่อไปว่า ปัจจัยที่กดดันต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ที่สำคัญในปัจจุบันมีส่วนมาจากมาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ จึงมีข้อเสนอแนะมาตรการระยะสั้นเพื่อกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยอยากให้มีการระงับมาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชั่วคราวแบบปีต่อปี หรือใช้มาตรการ LTV อยากให้บังคับใช้กับผู้ซื้อบ้านหลังที่ 3 เนื่องจากการมีที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 ที่ใช้ไปเรียน ทำงาน มีความจำเป็นมากขึ้น เพื่อการเดินทางที่สะดวกมากกว่าบ้านหลังแรกที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่เดิม

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles