เจ้าของเรือประมงเกือบแสนลำทั่วประเทศครวญหนัก ออกเรือทุกครั้งเป็นขาดทุนบักโกรก 100,000 บาท

เจ้าของ เรือประมง เกือบแสนลำทั่วประเทศครวญหนัก ออกเรือทุกครั้งเป็น ขาดทุน บักโกรก 100,000 บาท

นายมงคล มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร กล่าวว่า การออกเรือไปในทะเลในแต่ละครั้งกินเวลา 7-10 วัน เพื่อไปจับปลากลับมาขาย แต่ปัจจุบันกลับพบว่าขาดทุน สาเหตุจากราคาขายลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะขายได้ ราคารับซื้อโดนกดราคาลง เนื่องจากราคาสินค้าทะเลที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาถูกกว่าสินค้าภายในประเทศ ทำราคาตกต่ำ หากไม่ได้นับการแก้ไขปัญหาก็อาจจะส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการและราคาได้

ปัจจุบันเรือประมงพาณิชย์ในประเทศไทยที่มีการขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีอยู่ราวกว่า 90,000 ลำทั่วประเทศ แต่มีเรือที่สามารถใช้งานออกไปจับปลามี 50,000-60,000 ลำเท่านั้น ซึ่งลดน้อยลงจากในอดีตที่มีมากกว่า 100,000 ลำ นอกจากนี้ เมื่อประเทศไทยแก้ไขกฎระเบียบเรือประมงเพื่อให้กับสอดคล้องกับกฎหมาย IUU ทำให้ผู้ประกอบการเรือประมงพาณิชย์หายออกไปจากระบบ 10,000-20,000 ลำ

ทุกวันนี้ ผู้ประกอบการ หรือเจ้าของเรือประมงเจอภาวะขาดทุนจากการเดินเรือคิดเป็น 50,000-100,000 บาทต่อครั้งที่ออกเรือไปทะเล เนื่องจากราคาสัตว์น้ำมีราคาถูกมาก เช่น ราคากุ้ง ก่อนจะเดินเรือออกทะเล จะมีราคา 200 บาทต่อกิโลกรัม แต่เมื่อเรือกลับเข้าฝั่ง ราคาขายลดลงไปถึง 50 บาทต่อกิโลกรัม ปลาหมึกมีราคา 100 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคานำเข้า ราคาปลาป่นที่จะนำมาทำอาหารสัตว์ 7 บาทต่อกิโลกรัม ลดลงจากปีที่แล้วอยู่ที่ 10-11 บาท ต่อกิโลกรัม เป็นต้น ประกอบกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ค่าแรง ค่าอุปกรณ์ในการจับสัตว์น้ำ โดยการออกเรือแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 30,000-40,000 บาท ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาการเดินเรือ และขนาดของเรือด้วย ทำให้เจ้าของเรือหยุดเดินเรือเพิ่มขึ้น

นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร กล่าวต่อไปว่า หากยังขาดทุนอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ คาดว่าภายใน 1-2 เดือนจากนี้ไปจะมีผู้ประกอบการเรือประมงทยอยหยุดเดินเรือเพิ่ม ผู้ประกอบการเรือประมงล้วนคาดหวังว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งแก้ไขปัญหาราคา

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles