กกร.คงกรอบเป้าหมายจีดีพีไทยทั้งปี 65 โต 3-3.5% ส่งออกโต 7-8% หลังท่องเที่ยวฟื้นตัว

239
0
Share:
กกร. คงกรอบเป้าหมาย จีดีพีไทย ทั้งปี 65 โต 3-3.5% ส่งออก โต 7-8% หลัง ท่องเที่ยว ฟื้นตัว

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยในฐานะทำหน้าที่ประธานที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ว่า กกร.ยังคงกรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2565 เช่นเดิมโดยคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP) จะโตได้ 3-3.5% การส่งออกโต 7-8% และเงินเฟ้อทั่วไป 6-6.5% เนื่องจากประเมินว่าเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ตามการปรับตัวที่ดีขึ้นของภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่าทั้งปีจะจำนวนนักท่องเที่ยงต่างชาติจะใกล้เคียงระดับ 10 ล้านคนซึ่งมีส่วนจ้างงานและอุปสงค์ภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตามระยะข้างหน้าจำเป็นต้องติดตามความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยและทบทวนการถอนนโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามกกร.ยัง มีความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจระยะข้างหน้า เพราะยังมีสถานการณ์ความเสี่ยงสูงหลายด้านและมีการทยอยลดบทบาทนโยบายสนับสนุนทางเศรษฐกิจเพื่อให้เข้าสู่จุดสมดุลหรือ Policy Normalization ทำให้ไทยมีแรงส่งน้อยกว่าที่คาดไว้ การทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย การปรับขึ้นเงินนำส่ง FIDF สู่ภาวะปกติเป็น 0.4% ตั้งแต่ 1 ม.ค. 66 เป็นต้นซึ่งการทยอยลดบทบาทหลายมาตรการพร้อมๆ กันเสี่ยงที่จะกดดันต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและจะส่งผลให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือประเด็น การประกาศใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2564 วันที่ 13 ธันวาคม 2564 ซึ่งระบุอัตราภาษีสำหรับปีภาษี พ.ศ. 2565 โดยกำหนดใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ไม่ได้ปรับลดลง 90 %แต่มีผลเป็นเพียงการลดอัตราการจัดเก็บในระดับชั้นเดียว คือลดจากอัตราเพดานตามมาตรา 37 ลงมา แต่ยังไม่ได้ลดลงอีก 90% ตามมาตรา 55 ซึ่งจะทำให้ราคาประเมินใหม่รอบปี 2566-2569 ทั้งประเทศปรับขึ้นเฉลี่ย 8% ที่ดินรกร้างว่างเปล่าจะครบกำหนด 3 ปีที่ต้องเพิ่มอัตราเก็บภาษีอีก 0.3% และ กทม. จ่อปรับอัตราเก็บภาษีที่ดินเกษตรกรรมเต็มเพดาน 0.15% หรือเก็บเพิ่ม 15 เท่า ซึ่ง กกร. จะมีข้อเสนอถึงคุณสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาแก้ไขอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ระหว่างการพัฒนาหรือสร้างเสร็จที่ยังไม่ได้ขาย จากประเภทอื่นๆ เป็นประเภทที่อยู่อาศัย

รวมทั้งพิจารณาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในบริการสาธารณะและสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรฯ และอาคารชุดที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งตามกฎหมายปัจจุบันจะไม่ได้รับการยกเว้น จึงขอเสนอพิจารณาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว จากประเภทอื่นๆ เป็นประเภทที่อยู่อาศัย

ตลอดจน ขอให้พิจารณาปรับลดอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต่อไปอีก 2 ปี (ปี 2566 และ ปี 2567) โดยเสนอให้มีการจัดเก็บภาษีแบบขั้นบันได ทั้งนี้ ในปี 2566 ขอลดหย่อน 75% และปีต่อไป 50% ตามลำดับ และ 4. พิจารณายกเว้น เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และดอกเบี้ยสำหรับผู้ค้างชำระในปี 2565 โดยให้ผ่อนชำระในปี 2566