คนไทยครึ่งต่อครึ่งชี้เศรษฐกิจไทยปี 67 แย่ ดอกเบี้ยแบงก์-นโยบายรัฐบาลดันต้นทุนใช้ชีวิต

159
0
Share:
คนไทยครึ่งต่อครึ่งชี้ เศรษฐกิจไทย ปี 67 แย่ ดอกเบี้ยแบงก์-นโยบายรัฐบาลดันต้นทุนใช้ชีวิต

คุณอุษณา จันทร์กล่ำ กรรมการผู้จัดการ อิปซอสส์ เปิดเผยรายงานการวิจัยเรื่อง ความกังวลอะไรกับประเทศไทย หรือ What worries Thailand ซึ่งเป็นมุมมองของผู้ตอบแบบสอบถามที่ครอบคลุมครึ่งปีหลัง 2566 และแนวโน้มในปี 2567 พบว่า ความกังวลใจสูงสุด 5 อันดับแรกของประชาชนได้แก่ 43% ความยากจนและความไม่เท่าเทียมทางสังคม อันดับ 2 มี 40% การทุจริตทางการเงินหรือการเมือง อันดับ 3 มี 35% ภาวะเงินเฟ้อ อันดับ 4 มี 24% การว่างงาน 24% และอันดับ 5 มี 23% ความรุนแรงและอาชญากรรม 23%

ผลสำรวจ พบว่า 50% ของประชาชนมองว่า สภาพเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะแย่ ซึ่งมุมมองดังกล่าวที่ 50% ในครั้งนี้ ลดลงจากเดิม 57% เมื่อครั้งสำรวจในเดือนเมษายนผ่านมา นอกจากนี้ มี 61% ยอมรับว่ามีสมาชิกในครอบครัวและคนใกล้ตัวถูกปลดออกจากงาน

สำหรับค่าใช้จ่ายในครัวเรือนใน 7 รายการ ที่ประเมินว่า จะมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เท่าเดิม หรือลดลง ในอีก 6 เดือนข้างหน้า เมื่อเปรียบเทียบการผลสำรวจเมื่อเดือนเมษายน 2566 ที่ผ่านมานั้น กลุ่มประชาชนในผลสำรวจ ยอมรับว่า 61% มองว่ารายจ่ายอาหารลดลง จากเดิมที่เคยมีถึง 64% รายจ่ายด้านสาธารณูปโภค เช่น ค่าแก๊ส ค่าไฟฟ้า มี 59% มองว่าจะลดลง จากเดิมที่เคยมีถึง 65% รายจ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิง มี 59% มองว่าจะลดลง จากเดิมที่เคยมีถึง 65% และรายจ่ายด้านค่าสมัครสมาชิกบริการต่างๆ มี 31% มองว่าจะลดลง จากเดิมที่เคยมีถึง 32% ซึ่งเป็นมุมมองที่ลดลงน้อยที่สุด

ขณะที่ รายจ่ายสินค้าอุปโภคอื่นๆ มี 61% มองว่าจะเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ 59% รายจ่ายสังสรรค์นอกบ้าน มี 41% มองว่าจะเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ 39% และรายจ่ายค่าดอกเบี้ย หรือค่าเช่า มี 36% มองว่าจะเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ 34%

ผลสำรวจเกี่ยวกับสาเหตุหลักสำคัญที่เชื่อว่าทำให้ต้นทุนการใช้ชีวิต หรือค่าครองชีพของประชาชนคนไทยสูงขึ้น ประกอบด้วย 77% อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศ ซึ่งมีสัดส่วนเท่ากันกับ 77% เชื่อว่าเป็นนโยบายของรัฐบาล ต่อมา 76% สถานการณ์เศรษฐกิจโลก รองลงมา คือ 75% พนักงานเรียกร้องค่าจ้างเพิ่มขึ้น และ 74% ภาคธุรกิจมีกำไรมากเกินไป

ที่น่าสนใจต่อไปว่า พบว่ามุมมองด้านรายจ่ายและภาวะเงินเฟ้อที่คนไทยเผชิญในระดับสูงในช่วงผ่านมา กลับมีทิศทางบวกขึ้นเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบการผลสำรวจเมื่อเดือนเมษายน 2566 ที่ผ่านมา ได้แก่ ความยากลำบากด้านการเงินมาอยู่ที่ระดับ 20% ลดลง 5% จากที่เคยอยู่ที่ระดับ 25% ด้านมุมมองค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้นในปี 2567 อยู่ที่ระดับ 59% ลดลง 6% จากที่เคยอยู่ที่ระดับ 65% สอดรับกับมุมมองอัตราเงินเฟ้อจะไม่กลับสู่ภาวะปกติ อยู่ที่ระดับ 12% ลดลง 2% จากที่เคยอยู่ที่ระดับ 14% และมาตรฐานการครองชีพจะเพิ่มสูงขึ้นอีกในปี 2567 นั้น อยู่ที่ระดับ 15% ลดลง 5% จากที่เคยอยู่ที่ระดับ 20%