คนไทยเตรียมตัวซื้ออาหารแพงอีกแน่ ราคาอาหารสัตว์แพงรอบใหม่ ขัดแย้งรัสเซียกยูเครนปะทุ

763
0
Share:
คนไทยเตรียมตัวซื้อ อาหารแพง อีกแน่ ราคา อาหารสัตว์ แพงรอบใหม่ ขัดแย้งรัสเซียกยูเครนปะทุ

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า ไข่ไก่แพงก็บ่นว่าอาหารสัตว์แพงขึ้น อยากให้รัฐเข้ามาควบคุมอาหารสัตว์ ภาครัฐก็คุมราคาอาหารสัตว์ จนผู้ประกอบการหลายรายอยู่ไม่ได้ ดังนั้น อยากเรียกร้องให้รัฐบาลใหม่มาดูทั้งระบบ และเตรียมแก้ปัญหา เพราะผลผลิตในประเทศจะลดลงจากภัยแล้ง และยิ่งทะเลดำมีปัญหาอย่างนี้ ราคาวัตถุดิบขึ้น อาหารสัตว์ก็ต้องปรับราคาแน่ๆ

สำหรับแนวโน้มราคาอาหารสัตว์จะขยับขึ้นอีกในอนาคต แต่ประเมินไม่ได้ว่าจะขึ้นอีกเท่าใด และจะมีผลกระทบทั้งห่วงโซ่อุปทาน ทั้งกลุ่มเลี้ยงสัตว์ และผู้บริโภค โดยปัจจัยที่ราคาจะขยับขึ้นมาจากทั้งปัญหาภัยแล้ง เอลนีโญที่จะลากยาวถึงปีหน้า

ล่าสุดรัสเซียยกเลิกการค้ำประกันความปลอดภัยด้านการเดินเรือในทะเลดำ หลังการสิ้นสุดการบังคับใช้ข้อตกลงส่งออกธัญพืชจากยูเครนผ่านเส้นทางทะเลดำในวันจันทร์ที่ 17 ก.ค. ผ่านมา ทำให้เกิดการขนถ่ายสินค้าจากยูเครน ซึ่งเป็นผู้ผลิตธัญพืชหลักของโลก ไม่ได้ มีความเสี่ยงสูง เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั่วโลก

ย้อนกลับไปในปี 2565 ผู้ประกอบการอาหารสัตว์ได้รับผลกระทบหลักจนเกิดข้อตกลงที่สหประชาชาติและตุรกีมาเป็นตัวกลางช่วยเจรจากับรัสเซีย ส่งผลให้ราคาธัญพืชจากที่ถีบตัวสูงมากขยับลดลงบ้าง ครั้งนี้ก็เกรงว่าจะเกิดปัญหาอีก โดยปีที่แล้วกลุ่มอาหารสัตว์ได้ใช้แนวทางปรับเปลี่ยนจากการใช้ข้าวสาลีมาเป็นข้าวโพดบางส่วน แต่ก็ได้รับผลกระทบจากข้าวโพดในประเทศไม่เพียงพอ ขาดแคลนถึง 3 ล้านตัน ต้องนำเข้าจากเพื่อนบ้าน นอกจากนี้กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ก็ได้รับผลกระทบจากมาตรการช่วยเหลือ 3:1 (ซื้อข้าวโพดในประเทศ 3 ส่วน นำเข้าข้าวสาลีได้ 1 ส่วน) ทั้งที่ราคาข้าวโพดสูงถึง 11-13 บาทต่อ กก. สูงกว่าราคาประกันของภาครัฐที่ 8.50 บาทต่อ กก. เมื่อเป็นเช่นนี้รัฐก็ไม่ต้องจ่ายเงินประกัน และควรพิจารณายกเลิกมาตรการ 3:1

นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า ในส่วนของกากถั่วเหลืองที่เป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบสำคัญยังเก็บภาษีนำเข้าที่ 2% เพื่อช่วยเหลือโรงสกัดนํ้ามันถั่วเหลืองในประเทศที่ได้ประโยชน์จากการขายกากถั่วเหลืองราคาสูงให้โรงงานอาหารสัตว์ มาตรการเหล่านี้ควรยกเลิก เพราะรัฐได้ภาษีไม่กี่บาท แต่ทำให้อาหารสัตว์มีราคาแพง โดยปัจจุบันไทยผลิตถั่วเหลือง 20,000 ตัน และนำเข้ากากฯ และเม็ดถั่วเหลือง รวม 5 ล้านตันต่อปี