‘งานวิจัยม.มหิดล’ ยืนยัน! ฉีดซิโนแวคครบ 2 โดส ไม่ช่วยต้านโควิด-19 พันธุ์เดลต้า

502
0
Share:

นักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้เปิดเผยแพร่งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด-19 ยี่ห้อซิโนแวคจากประเทศไทยชิ้นแรก โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้ส่งไปทาง medRxiv ซึ่งเว็บไซต์ฐานข้อมูลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์อย่างเป็นทางการจากทั่วโลก

งานวิจัยดังกล่าวได้สรุปบทคัดย่อ ที่สำคัญที่สุด คือบทสรุป มีดังนี้ พบว่า ตัวอย่างซีรั่มจากผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคและบุคคลที่ติดเชื้อตามธรรมชาติ มีความสามารถลดลงในการต่อต้านโควิด-19 ทั้ง 3 สายพันธุ์เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม

ระดับภูมิคุ้มกันในร่างกายทั้งจากวัคซีนซิโนแวคและภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติต่อสายพันธุ์อัลฟา หรืออังกฤษ และเบตา หรือแอฟริกาใต้ นั้นยังพอรับได้ แต่กับสายพันธุ์เดลต้า หรืออินเดียมระดับภูมิคุ้มกันน้อยกว่ากว่าอย่างมีนัยสำคัญ หรือเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบทั้งหมด

งานวิจัยดังกล่าว พบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิมนั้น ภูมิคุ้มกันจากผู้ที่หายป่วยในปี 2020 มีความสามารถในการต่อต้านเชื้อสูงที่สุด รองลงมาเป็นภูมิคุ้มกันจากซิโนแวค และภูมิคุ้มกันจากผู้ที่หายป่วยในปี 2021 ตามลำดับ

เมื่อดูจากผลวิจัยกับสายพันธุ์อัลฟา ภูมิคุ้มกันจากผู้ที่หายป่วยในปี 2021 มีความสามารถในการต่อต้านเชื้อสูงที่สุด รองลงมาเป็นภูมิคุ้มกันจากซิโนแวค และภูมิคุ้มกันจากผู้ที่หายป่วยในปี 2020 ตามลำดับ ขณะที่สายพันธุ์เบตานั้น ภูมิคุ้มกันจากผู้ที่หายป่วยในปี 2020 และ 2021 สามารถต้านเชื้อได้พอ ๆ กัน ส่วนภูมิจากวัคซีนซิโนแวคนั้นน้อยกว่า

ที่น่าสนใจ คือ ผลการวิจัยกับสายพันธุ์เดลต้า หรืออินเดีย พบว่าภูมิคุ้มกันจากผู้ที่หายป่วยในปี 2020 และ 2021 สามารถต้านเชื้อได้พอกันเช่นกัน ขณะที่ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนซิโนแวคมีระดับน้อยกว่าเมื่อเจอกับสายพันธุ์เบตาเสียอีก

ผลลัพธ์เหล่านี้ชี้ว่า ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนโรคระบาดโควิด-19 ซิโนแวคต่อโควิด-19 สายพันธุ์ต่าง ๆ ด้อยกว่าภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในผู้ที่ติดเชื้อแล้วหายป่วย

ทั้งนี้ ทีมวิจัยประเมินศักยภาพของภูมิคุ้มกันเมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิมโดยเปรียบเทียบกับ 3 สายพันธุ์ดังกล่าวด้วยการใช้ตัวอย่างซีรั่มจากบุคลากรการแพทย์ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม จำนวน 60 คน ซีรั่มจากผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในปี 2020 จำนวน 30 คน และซีรั่มจากผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในปี 2021 จำนวน 30 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 120 คน