จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ย้ำงบปี 63 ทำเพื่อฐานราก

832
0
Share:

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ชี้แจงกรณีที่นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้นำฝ่ายค้านอภิปรายถึงร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 2563 ว่าไม่ขับเคลื่อนกลไกทางเศรษฐกิจ และไม่สนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากโดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตร ยืนยันว่า รัฐบาลนี้ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจฐานราก รายได้เกษตรกร และการส่งออกอย่างมาก โดยได้บรรจุในนโยบายเร่งด่วน คือ นโยบายประกันรายได้เกษตรกร 5 สินค้า คือ ข้าว มัน ยาง ปาล์ม ข้าวโพด และยังให้ความสำคัญกับพืชเกษตรอื่นๆ
.
การประกันรายได้เกษตรกร ไม่ใช่การประกันราคา เนื่องจากการประกันราคาขัดกับหลักการขององค์การการค้าโลก และจะขัดกับหลักการอุปสงค์ อุปทาน และกลไกทางการตลาด และการประกันรายได้จะทำให้เกษตรกรจะได้รับหลักประกันทางรายได้ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ
.
โดยนโยบายนี้ทำให้เกษตรกรมีรายได้ 2 ทาง คือ รายได้จากการขายพืชผลเกษตรตามราคาตลาด ณ เวลานั้น และมีรายได้ที่สอง คือเงินส่วนต่างระหว่างราคาประกันกับราคาตลาดอ้างอิง ซึ่งรัฐบาลจะโอนเงินส่วนต่างนี้เข้าบัญชี ธ.ก.ส.ของเกษตรกรโดยตรง ไม่มีการตกหล่นระหว่างทาง ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ราคาสินค้าตกต่ำ
.
นอกจากนี้ ยังได้ชี้แจงถึงการประกันรายได้ปาล์มน้ำมัน ประกันกิโลละ 4 บาท งบประมาณ 14,000 ล้านบาท และได้โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรและเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา สูงสุดถึงครัวเรือนละ 12,000 บาท และจะมีการโอนปีละ 8 งวด ทุกๆ 45 วัน และยังมีมาตรการเสริมอื่นๆอีก เพื่อกระตุ้นราคาปาล์มให้สูงขึ้น
.
ด้านการประกันราคาข้าว มีการกำหนดราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 14 ตัน // ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 16 ตัน // ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ตัน
เป็นต้น โดยจะโอนเงินส่วนต่างทุก 15 วัน จนกระทั่งครบจำนวนที่ขึ้นทะเบียนไว้
.
ส่วนข้อสังเกตที่ว่า ชาวนาในภาคอีสานไม่ได้รับประโยชน์จากนโยบายประกันราคานั้น นายจุรินทร์ กล่าวว่า ผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเหนียว ไม่ได้รับเงินส่วนต่างจริง เพราะราคาตลาดสูงกว่าราคาประกันแล้ว จึงไม่ได้รับการชดเชยส่วนต่าง
.
ด้านยางพารา มีการตั้งงบไว้แล้ว 24,000 ล้านบาท ซึ่งครม.เห็นชอบเมื่อวันที่ 15 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยประกันยาง 3 ชนิด ยางแผ่นดิบคุณภาพดี 60 บาท/กิโลกรัม // น้ำยางสด 57 บาท/กิโลกรัม และยางก้อนถ้วย 23 บาท/กิโลกรัม ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ และจะโอนส่วนต่าง 1-15 พ.ย.นี้
.
ส่วนการประกันราคามันสำปะหลัง จะมีการนัดประชุม 3 ฝ่าย ในวันที่ 27 ต.ค.นี้ ที่จ.อุดรธานี ส่วนการประชุมเรื่องข้าวโพด จะจัดที่จ.เพชรบูรณ์ ในช่วงต้นเดือน พ.ย.นี้ และจะนำเรื่องเข้าสู่ ครม. ต่อไป