ดัชนี MPI เดือนมิ.ย.2563 เติบโตร้อยละ 4.18

736
0
Share:

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ สศอ. เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ MPI เดือนมิ.ย. 2563 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.18 โดยขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2
ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนมิ.ย.ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนอยู่ที่ร้อยละ 55.21 จากเดิมที่ร้อยละ 52.34 สะท้อนถึงแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม
.
ทั้งนี้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย. 2563 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.66 จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและด้านการขนส่งทั่วโลกหยุดชะงักลง เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว
.
ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 2 ปีนี้ หดตัวลงเมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.97 ตามพฤติกรรมการบริโภคในยุค New Normal ส่งผลต่อความต้องการสินค้าคงทนลดลง ประชาชนชะลอการซื้อสินค้าที่มีมูลค่าสูง ทำให้อุตสาหกรรมหลักหดตัวลงและส่งผลลบต่อดัชนี MPI เดือนมิถุนายน 2563 ได้แก่ การผลิตรถยนต์และเครื่องยนต์ น้ำมันปิโตรเลียม และเครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน
.
ส่วนความต้องการในสินค้าจำพวกอุปโภคและบริโภคกลับขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยอุตสาหกรรมหลักที่ยังคงขยายตัวดีในเดือนมิถุนายน ได้แก่อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.78 จากผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงและอาหารปลาเป็นหลัก เนื่องจากความต้องการอาหารสัตว์สำหรับสัตว์เลี้ยงที่มีการเติบโตขึ้นต่อเนื่อง
.
ด้านอาหารทะเลกระป๋อง ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 30.46 โดยเฉพาะปลาทูน่ากระป๋อง เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ได้ส่งผลให้เกิดความต้องการอาหารที่เก็บไว้ได้นานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ส่วนผลิตภัณฑ์นม ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.74
.
โดยเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมกำลังฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมหลักมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการ อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร (หักน้ำตาล) ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.30 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.25
.
ในขณะที่อุตสาหกรรมหลักอื่น ๆ ได้เริ่มกลับมาเพิ่มกำลังการผลิตอีกครั้ง เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมที่ร้อยละ 28.00 โดยตลาดในประเทศขยายตัวร้อยละ 43.50 และตลาดส่งออกขยายตัวร้อยละ 67.40 เนื่องจากในช่วงเดือนมิถุนายนผู้ประกอบการเริ่มกลับมาเปิดสายการผลิต ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศไทยที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว “มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลออกมา เช่น“เราเที่ยวด้วยกัน” มาตรการผ่อนคลายระยะที่ 6 ที่อนุญาตให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับต่างชาติ ซึ่งจจะทำให้ภาคการผลิตจะกลับมาเต็มกำลังอีกครั้ง