ตะลึงพักหนี้เกษตรกรไทยแต่หนี้เสียยังดิ้นเพิ่มขึ้นอีก สะท้อนโครงการพักหนี้ทั้งไม่ช่วย

430
0
Share:
ตะลึงพัก หนี้เกษตรกร ไทยแต่ หนี้เสีย ยังดิ้นเพิ่มขึ้นอีก สะท้อนโครงการพักหนี้ทั้งไม่ช่วย

ดร.โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ ผู้อำนวยการวิจัย และ ดร.ลัทธพร รัตนวรารักษ์ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ เปิดเผยผลการศึกษาผลกระทบของมาตรการพักหนี้เกษตรกรในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งใช้ข้อมูลสินเชื่อรายสัญญาของลูกหนี้ตัวอย่างจำนวน 1 ล้านคน ทำการสุ่มเลือกจากลูกหนี้รายย่อยของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในช่วงระหว่างปี 2557-2566 พบว่า มาตรการพักหนี้เกษตรกรในอดีตไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาหนี้ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเห็นได้จากเกษตรกรที่เข้ามาตรการพักหนี้ กลับมียอดหนี้สูงขึ้นกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้าโครงการดังกล่าวอย่างชัดเจน

สาเหตุมาจากเกิดจาก 77% ของลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการ ได้รับสินเชื่อใหม่ระหว่างการพักหนี้ และมี 50% ของลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการขาดการจ่ายภาระดอกเบี้ยที่ยังเดินอยู่

นอกจากนี้ เกษตรกรที่เข้ามาตรการพักหนี้มีแนวโน้มเป็นหนี้เสียสูงขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากวินัยทางการเงินที่ลดลง หรือเสียกำลังใจเมื่อเห็นยอดหนี้คงค้างปรับสูงขึ้นมาอีก รวมถึงมีแนวโน้มสูงขึ้นที่จะกลับเข้าไปพักหนี้ซ้ำกลายเป็นติดกับดักหนี้ในที่สุด

สภาพดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาแรงจูงใจของลูกหนี้ที่บิดเบี้ยว ซึ่งผลกระทบเหล่านี้จะรุนแรงขึ้นหากเกษตรกรเข้าร่วมมาตรการเป็นเวลานาน นอกจากนี้เกษตรกรที่เข้ามาตรการพักหนี้ไม่ได้มีการออมเงินหรือลงทุนทำการเกษตร เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

มาตรการพักหนี้ ที่เหมาะสมมี 3 ประเด็น ดังนี้ ควรเป็นมาตรการระยะสั้น และใช้เฉพาะในสถานการณ์รุนแรง เช่น การเกิดภัยธรรมชาติรุนแรง การระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมทั้งทำในวงจำกัด (opt in) สำหรับลูกหนี้ที่ยังมีศักยภาพ แต่ประสบปัญหาในการชำระหนี้ชั่วคราวเท่านั้น

ต่อมา ควรมีกลไกสร้างแรงจูงใจให้ลูกหนี้ทุกกลุ่มยังรักษาวินัยในการชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง สำหรับกลุ่มลูกหนี้ดีที่สามารถชำระหนี้ได้ตามปกติ ต้องมีกลไกที่ทำให้ลูกหนี้ยังเลือกชำระหนี้อย่างมีวินัย ป้องกันไม่ให้เข้าร่วมมาตรการพักหนี้ เช่น การลดดอกเบี้ยสินเชื่อใหม่สำหรับลูกหนี้ที่ชำระได้ตามปกติ เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้ชำระหนี้ต่อเนื่อง ส่วนลูกหนี้ที่ประสบปัญหาและจำเป็นต้องเข้ามาตรการพักหนี้ ควรมีกลไกที่ยังทำให้ลูกหนี้มีแรงจูงใจและความพยายามที่จะชำระหนี้ตามความสามารถได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การพักชำระหนี้เพียงบางส่วน ทำให้ลูกหนี้ยังสามารถชำระหนี้ได้นอกจากนี้

สุดท้าย คือ ไม่ควรใช้มาตรการพักหนี้เป็นเครื่องมือหลักในการช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงให้เกษตรกร เพื่อลดการพึ่งพิงมาตรการพักหนี้และป้องกันปัญหา ระบบประกันสินเชื่ออาจเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืนกว่า