ต่างชาติยังฮิตเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ญี่ปุ่นยังมาแรง ส่วนนักลงทุนจากจีนแผ่วลง

71
0
Share:

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ไตรมาสแรกปี 2567 อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ..2542 จำนวน 178 ราย โดยเป็นการ ลงทุน ผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 53 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ผ่านช่องทางการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการใช้สิทธิตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ) จำนวน 125 ราย เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 35,902 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 849 คน

เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (มกราคมมีนาคม 2566) พบว่า อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยเพิ่มขึ้น จำนวน 4 ราย หรือ เพิ่มขึ้น 2% (เดือนมกราคมมีนาคม 2567 อนุญาต 178 ราย / เดือนมกราคมมีนาคม 2566 อนุญาต 174 ราย) และมีมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 2,854 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 9% (เดือนมกราคมมีนาคม 2567 ลงทุน 35,902 ล้านบาท / เดือนมกราคมมีนาคม 2566 ลงทุน 33,048 ล้านบาท) ขณะที่มีการจ้างงานคนไทยลดลง 1,083 ราย หรือ ลดลง 56% (เดือนมกราคมมีนาคม 2567 จ้างงาน 849 คน / เดือนมกราคมมีนาคม 2566 จ้างงาน 1,932 คน) โดยจำนวนนักลงทุนที่เข้ามาสูงสุดยังคงเป็นนักลงทุนญี่ปุ่นเช่นเดียวกับปีก่อน

โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุน 5 อันดับแรก ได้แก่

1. ญี่ปุ่น 40 ราย คิดเป็น 22% ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 19,006 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิธุรกิจโฆษณา ธุรกิจบริการจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์สำหรับโรงงานผลิตอะเซทีลีนแบล็ก ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

2. สิงคโปร์ 32 ราย คิดเป็น 18% ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 3,294 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิธุรกิจบริการศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) โดยการให้ใช้ระบบฝากซื้อขายสินค้าและบริการ

3. สหรัฐอเมริกา 29 ราย คิดเป็น 16% ของจำนวนธุรกิจต่างชาติ เงินลงทุน 1,048 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิธุรกิจบริการทางวิศวกรรม ธุรกิจนายหน้าและตัวแทนในการจัดซื้อ จัดหา และจัดจำหน่ายสินค้า

4. จีน 20 ราย คิดเป็น 11% ของจำนวนธุรกิจต่างชาติ เงินลงทุน 2,886 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ ธุรกิจบริการที่ให้แก่บริษัทในเครือ หรือบริษัทในกลุ่ม ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า 5. ฮ่องกง 11 ราย คิดเป็น 6% ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 1,017 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิธุรกิจค้าปลีกสินค้า (เครื่องฉีดขึ้นรูป) ธุรกิจบริการศูนย์กระจายสินค้าระหว่างประเทศด้วยระบบที่ทันสมัย

สำหรับการลงทุนในพื้นที่ EEC ไตรมาสแรกของปี 2567 มีนักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 56 ราย คิดเป็น 31% ของจำนวนนักลงทุนต่างชาติในไทย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 25 ราย หรือ เพิ่มขึ้น 81% (เดือนมกราคมมีนาคม 2567 ลงทุน 56 ราย / เดือนมกราคมมีนาคม 2566 ลงทุน 31 ราย) และมีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 11,629 ล้านบาท คิดเป็น 32% ของเงินลงทุนทั้งหมด