ทวิตเตอร์ดีเดย์เริ่มใช้ระบบจ่าย 8 ดอลลาร์หรือประมาณ 300 บาทต่อเดือน กับ Twitter Blue

338
0
Share:
ทวิตเตอร์ ดีเดย์เริ่มใช้ ระบบจ่าย 8 ดอลลาร์หรือประมาณ 300 บาทต่อเดือน กับ Twitter Blue

สำหนักข่าว Bloomberg รายงานว่า ทวิตเตอร์ตั้งเป้าที่จะเริ่มคิดเงินกับ ป้าย Verified Account หรือ บัญชีทางการที่ได้รับป้ายสัญลักษณ์ยืนยันโปรไฟล์ผู้ใช้สีน้ำเงินจากทวิตเตอร์ ในสัปดาห์หน้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนต่อสู้กับบัญชีปลอมและเป็นโมเดลหารายได้ใหม่ หลังจากที่ นายอีลอน มัสก์ เข้าเทกโอเวอร์ Twitter ด้วยเงิน 44 พันล้านดอลลาร์

โดย ป้าย Verified Account และ Twitter Blue ดังกล่าวจะใช้วิธีการสมัครสมาชิก 8 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ซึ่งจะนำระบบจ่ายเงินนี้มาใช้ในวันจันทร์ ผู้ใช้ที่มีตรา Verified Account อยู่แล้วจะมีระยะเวลาผ่อนผันหลายเดือนก่อนที่จะต้องจ่ายเงิน และจะมีการพัฒนา คือ “ปุ่มแก้ไข” ซึ่งปัจจุบันมีให้สำหรับผู้ใช้ Twitter Blue ที่จ่าย 4.99 เหรียญสหรัฐต่อเดือนเท่านั้น โดยจะมีการเปิดให้ผู้ใช้ที่เหลือฟรี คาดว่าจะแล้วเสร็จในสัปดาห์นี้

แผนการเรียกเก็บเงินนี้ ทำให้ผู้ใช้งานแตกเป็นสองฝ่าย ทั้งไม่สนับสนุนและจะไม่จ่ายเงินเพื่อเก็บบัญชีผู้ใช้ไว้ อีกส่วนสนับสนุนรูปแบบธุรกิจใหม่นี้ ซึ่งอ้างว่าเห็นด้วยกับ Musk ว่าการกระทำดังกล่าวจะช่วยกำจัด “บอต” หรือบัญชีสแปม

ในอดีต Twitter ใช้ป้ายตรวจสอบสีน้ำเงิน (Verified Account) เพื่อระบุผู้ใช้ที่มีชื่อเสียงสูงที่อาจเสี่ยงต่อการแอบอ้างบุคคลอื่น เช่น นักข่าว นักการเมือง และนักเคลื่อนไหว และไม่เคยมีการเรียกเก็บเงินสำหรับป้ายดังกล่าว ซึ่ง Musk เปรียบเทียบการให้ความสำคัญของทวิตเตอร์กับผู้ใช้ที่มีชื่อเสียงเหล่านี้ว่าเป็น “ระบบขุนนางและชาวนา” เนื่องจากพวกเขาเหล่านี้ได้รับความพิเศษและฟรี

Bloomberg ยังระบุด้วยว่าทวิตเตอร์จะอนุญาตให้บัญชีของรัฐบาลยังคงยืนยันตัวตนได้ เช่นเดียวกับบัญชีในภูมิภาคอื่นๆ ที่ยังไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ ด้านโฆษกทำเนียบขาว Karine Jean-Pierre กล่าวเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่าประธานาธิบดีและคณะผู้บริหารของเขายังไม่ได้พิจารณาว่าจะต้องจ่ายหรือไม่เพื่อรักษา Verified Account ของหน่วยงานรัฐบาล

โดยมุมมองของ อีลอน มัสก์ เปรียบเทียบการให้ความสำคัญของทวิตเตอร์กับผู้ใช้ที่มีชื่อเสียงเหล่านี้ว่า “ระบบขุนนางและชาวนา” เนื่องจากโพสต์หรือทวิตเตอร์จากคนมีเชื่อเสียงนั้น มีความสำคัญและส่งผลกระทบกับผู้คนเป็นวงกว้าง แม้แต่การทวิตของอีลอน มัสก์ เองยังเคยเป็นหลักฐานที่ใช้ปรักปรำเขาในศาลว่าเขาแสดงความเห็นในฐานะ ซีอีโอ ของเทสลา ไม่ใช่คนทั่วไป