ทักษะดี! ทักษะการเงินคนไทยเจนวาย(Y)ชนะทุกรุ่น พบคนไทยการเงินดีขึ้นช่วงก่อนโควิด

156
0
Share:
ทักษะดี! ทักษะการเงิน คนไทย เจนวาย(Y)ชนะทุกรุ่น พบคนไทยการเงินดีขึ้นช่วงก่อนโควิด

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ นำข้อมูลจากการสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับคนไทยกับพัฒนาการด้านทักษะทางการเงิน พบว่า ตั้งแต่ปี 2016-2020 หรือช่วง 4 ปีก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19 นั้น คนไทยมีพัฒนาการด้านทักษะทางการเงินที่ดีขึ้น ในทุกช่วงอายุ หรือทุกกลุ่มเจนเนอเรชั่น ที่สำคัญ คะแนนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ พบว่าคนไทยมีลักษณะเพิ่มทักษะทางการเงินตามอายุที่มากขึ้น และจะเริ่มมีทักษะการเงินที่แย่ลงเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ

หากแบ่งกลุ่มคนไทยออกตามช่วงอายุ พบว่า คนวัย 30-39 ปี หรือส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มคนเจนวาย(Y) เป็นกลุ่มช่วงวัยที่มีทักษะการเงินสูงสุด รองลงมา ได้แก่ช่วงเป็นกลุ่ม 20-29 ปี หรือในกลุ่มคนเจนวายช่วงเริ่มต้น และคนเจนซี(Z)ตอนปลาย กลุ่มที่ 3 อยู่ในช่วงอายุ 40-49 ปี และกลุ่มสุดท้ายที่ทักษะการเงินต่ำสุด คือคนไทยช่วงอายุ 90-99 ปี

ข้อมูลทักษะทางการเงินของคนไทยเมื่อปี 2020 ซึ่งเป็นข้อมูล่าสุด พบว่าทักษะทางการเงินของคนไทยมีคะแนนเฉลี่ยที่ 71% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทักษะการเงินของประชาชนในกลุ่มประเทศ OECD ที่มีคะแนนเฉลี่ย 60.5% อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่ต้องติดตาม ได้แก่ คนไทยมีคะแนนทัศนคติทางการเงินที่ดี แต่ยังมีความด้อยด้านความรู้ทางการเงิน สาเหตุจากคะแนนทักษะทางการเงินในแต่ละด้านมีพัฒนาการที่ดีขึ้น คนไทยทำคะแนนได้ดีที่สุดคือ ทัศนคติทางการเงิน ส่วนคะแนนได้น้อยที่สุดคือ ด้านความรู้ทางการเงิน

ดังนั้น คนไทยยังขาดความรู้ทางการเงิน 3 ด้านสำคัญ ได้แก่ วิธีคำนวณดอกเบี้ยและเงินฝากทบต้น วิธีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน และความเข้าใจและการตระหนักในมูลค่าของเงินเมื่อเวลาผ่านไป

ขณะที่ในปี 2020 พฤติกรรมทางการเงินของคนไทยจะพบว่า 3 พฤติกรรมสุดท้ายที่ได้คะแนนต่ำสุด ได้แก่ การจัดสรรเงินก่อนใช้ ไม่เคยเจอปัญหาเงินไม่พอใช้ และที่ต่ำสุด คือ คนไทยยังคงด้อยสามารถในการเปรียบเทียบข้อมูลก่อนการเลือกซื้อ การใช้บริการผลิตภัณฑ์ทางการเงิน สำหรับ 3 พฤติกรรมแรกที่ได้คะแนนสูงสุด ได้แก่ คนไทยมีความสามารถตัดสินใจทางการเงิน ไม่กู้เมื่อเงินไม่พอใช้ และเลือกวีธีออมที่เหมาะสม