ทำประกันน้อย! คนไทยไม่เน้นทำประกัน วัยรุ่นไทยเจนซี (Z) หันทำประกันมากขึ้น

279
0
Share:
ทำประกันน้อย! คนไทยไม่เน้นทำ ประกัน วัยรุ่น ไทยเจนซี (Z) หันทำประกันมากขึ้น

สมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่าจากเดิมที่คนไทยกลุ่มเจเนอเรชั่นที่อายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป คือกลุ่มที่นิยมทำประกันมากที่สุด สาเหตุจากมีส่วนเกินของรายได้ อายุ และเห็นภาพของสุขภาพ ปัญหาสุขภาพเริ่มมา แต่ในปัจจุบันเริ่มเห็นคนอายุน้อยทำประกันมากขึ้นอย่างชัดเจน และเริ่มเห็นเจนซี (Z) ที่อายุประมาณ 20 ปีกว่าๆ ซึ่งเป็น First Jobber หรือมีงานทำครั้งแรก เริ่มซื้อประกันมากขึ้น โดยซื้อผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก และซื้อผ่านนายหน้ามีบ้าง

หากดูกรมธรรม์เทียบกับจำนวนประชากรจะมีสัดส่วนที่ 38-39% โดยประชากร 1 คน อาจจะมีมากกว่า 1 กรมธรรม์ เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศนั้น ประเทศที่มีกรมธรรม์เทียบกับจำนวนประชากรในสัดส่วนเกิน 50-100% หากมองในแง่ของเบี้ยรวมที่มีส่วนในการผลักดันจีดีพีของประเทศ บางประเทศอยู่ที่ประมาณ 5-7% ส่วนประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 3% จึงมีโอกาสที่ภาคธุรกิจประกันจะเติบโตมากขึ้น

ปัจจัยที่จะส่งเสริมภาคธุรกิจประกันชีวิตมีอัตราการเติบโตเป็นไปตามที่คาดการณ์ ได้แก่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย อัตราดอกเบี้ยทิศทางขาขึ้น การผ่อนคลายกฎระเบียบ การกำกับดูแลให้เป็น Principle-Base มากขึ้น มาตรการลดหย่อนภาษีของประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันบำนาญ สังคมผู้สูงอายุมีมากขึ้น และแนวโน้มกระแสรักษาสุขภาพ

ส่วนปัจจัยท้าทาย ได้แก่ เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้าแพง ความไม่แน่นอนทางการเมือง การบังคับใช้มาตรฐานสากล ภัยคุกคามทางไซเบอร์ สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน สงครามรัสเซีย-ยูเครน

ทั้งนี้ ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตปี 2566 ได้รับการคาดการณ์ว่าจะมีเบี้ยประกันภัยรับรวมประมาณ 612,500-623,500 ล้านบาท เติบโตอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 0-2 โดยในช่วงครึ่งแรกปี 2566 (มกราคม-มิถุนายน 2566) มูลค่าเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 300,005 ล้านบาท เติบโต 3.78% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีผ่านมา ประกอบด้วย เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ 86,802 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.93% และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป 213,203 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.82% ในเบี้ยประกันรับรายใหม่ 86,802 ล้านบาท