ธนาคารโลกชี้เศรษฐกิจไทยปี 67 คาดเติบโตโตเพียง 2.8% โตต่ำเกือบรั้งท้ายในอาเซียน

148
0
Share:
ธนาคารโลก ชี้ เศรษฐกิจไทย ปี 67 คาดเติบโตโตเพียง 2.8% โตต่ำเกือบรั้งท้ายในอาเซียน

ธนาคารโลกเปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค และความยากจนประเทศไทย พบว่า แนวโน้มเศรษฐกิจประเทศไทยในระยะกลางกำลังเผชิญกับความท้าทายในด้านต่างๆ ได้แก่ การรับมือกับสังคมประชากรสูงวัย การบริหารจัดการความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และความจำเป็นในการสร้างภูมิคุ้นกันด้านนโยบายใหม่ๆ ในการรับมือผลกระทบจากภายนอกประเทศในอนาคต ซึ่งทำให้ประเทศไทยต้องมีรายจ่ายเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบศักยภาพของเศรษฐกิจไทยกับประเทศอื่นๆในอาเซียนนั้น ปรากฏว่า เศรษฐกิจไทยฟื้นช้าล่ากว่าเกือบทุกประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน สาเหตุจากปัจจัยการผลิตและการลงทุนภาครัฐบาลอ่อนแอ ท่ามกลางการบริโภคภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้น โดยในปี 2567 นี้ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นที่ระดับ 2.8% แต่กลับเติบโตล่าช้า และตามหลังประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียน มีเพียงเมียนมาที่เติบโตต่ำสุดในกลุ่มอาเซียน โดยอันดับ 1.ฟิลิปปินส์ 5.8% อันดับ 2.กัมพูชา 5.8% อันดับ 3.เวียดนาม 5.5% อันดับ 4.อินโดนีเซีย 4.9% อันดับ 5. มาเลเซีย 4.3% อันดับ 6. สปป.ลาว 4.0% อันดับ 7. ไทย 2.8% และอันดับสุดท้าย 8. เมียนมา 1.3%

ย้อนกลับไปในปี 2023 เศรษฐกิจประเทศไทยอยู่ในภาวะตกต่ำโดยขยายตัวได้เพียง 1.9% ซึ่งลดลงจากการขยายที่ระดับ 2.5% ในปี 2022 ที่สำคัญ เศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำที่สุดในกลุ่มอาเซียน ดังนี้ อันดับ 1. ฟิลิปปินส์ 5.6% อันดับ 2. กัมพูชา 5.4% อันดับ 3. เวียดนาม 5.0% อันดับ 4. อินโดนีเซีย 5.0% อันดับ 5. เมียนมา 4.0% อันดับ 6. มาเลเซีย 3.7% อันดับ 7. สปป.ลาว 3.7% และอันดับสุดท้าย 8. ไทย 1.9%

เศรษฐกิจประเทศไทยในปีนี้ ยังมีจุดด้อยที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ หนี้ครัวเรือนในระดับสูงที่ 90.6% ของเศรษฐกิจหรือจีดีพีไทย ที่สำคัญ เป็นประเทศที่มีหนี้ครัวเรือนสูงที่สุดในอาเซียน ส่วนปัญหาความยากจนนั้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมีอัตราความยากจนลดลงมากที่สุด 2.4% อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของไทยกลับประสบปัญหาความยากจนเพิ่มขึ้น

ธนาคารโลกปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2024 ลง -0.4% จากเดิมที่คาดการณ์ถึง 3.2% มาเหลือเพียง 2.8% สาเหตุจากการส่งออกในระยะยาวปีนี้อ่อนแรงลง การเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลไทยที่ล่าช้ามากถึง 6 เดือนของปีงบประมาณ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกของเศรษฐกิจไทยในปีนี้อยู่ที่ภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคของภาคเอกชน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวของไทยในปี 2024 นี้ ได้รับการคาดการณ์ว่าจะขยายตัวถึง 90% เทียบกับปีก่อนเกิดวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19

นอกจากนี้ ธนาคารโลกยังได้ลดเป้าประเมินตัวเลขจีดีพีไทยในปีหน้า 2025 ลงจากเดิมที่ระดับ 3.1% มาเหลือที่ 3.0% หากเป็นไปตามที่ธนาคารโลกประเมินไว้ นั่นหมายถึง เศรษฐกิจไทยขยายตัวลดลงถึง 2 ปีติดต่อกัน หลังจากที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างย่ำแย่ถึง 1.9% ในปี 2023 ผ่านมา โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 4 ของปีผ่านไปที่เศรษฐกิจไทยตกต่ำเหนือคาดหมายถึง -0.6% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2023