ธนาคารโลกเสนอไทยขึ้นภาษีคนรวยอีก หวังนำรายได้ภาษีไปแก้วิกฤตโควิด และภาระหนี้สาธารณะของไทยที่พุ่งสูง

365
0
Share:

นายคิม เอ็ดเวิร์ดส์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก เปิดเผยว่า ประเทศไทยอาจต้องพิจารณาการปรับขึ้นภาษีคนร่ำรวยเพิ่มขึ้นอีก เพื่อสค้างรายได้ให้กับรัฐบาลในการนำไปจัดการกับภาระเงินกู้ยืมของรัฐบาลที่มีจำนวนสูงถึง 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1.4 ล้านล้านบาท โดยเป็นผลจากการออกกฎหมายกู้ยิมเงินเพื่อนำไปเยียวยาภาวะเศรษฐกิจไทยท่ามกลางการระบาดของโรคระบาดโควิด-19

ขณะที่ รายงานของสถาบันที่มีชื่อว่า Hurun Rich List เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีมหาเศรษฐีเป็นจำนวนมากถึง 52 คน ซึ่งเป็นจำนวนมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ที่สำคัญ มหาเศรษฐีไทยจำนวนหลายคนมีมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นในช่วงตั้งแต่การระบาดของโรคโควิด-19

นายคิม เอ็ดเวิร์ดส์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก กล่าวต่อไปว่า คนไทยหลายล้านคนตกงาน รวมทั้งแรงงานคนไทยที่อยู่นอกระบบมีจำนวนนับไม่ถ้วน ในขณะที่หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นเป็น 90% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพีประเทศไทย สำหรับอัตราภาษีของไทยนั้นยังคงอยู่มนระดับค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบภาษีประเภทเดียวกันกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อัตราภาษีนิติบุคคลของไทยจัดเก็บที่ 20% ซึ่งน้อยกว่ามาเลเซียที่มีอัตราภาษีนิติบุคคลที่ระดับ 24% ฟิลิปปินส์มีอัตราภาษีนิติบุคคลสูงถึง 30%

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก นายคิม เอ็ดเวิร์ดส์ มองว่าการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ได้ช่วยให้ประเทศไทยสามารถพยุงสถานะทางการเงินได้เลย ดังนั้น การเพิ่มอัตราภาษีจากบุคคลที่มีความร่ำรวย ภาษีจากกำไรของการขายทรัพย์สิน และทำการปฏิรูปมาตรการลดหย่อนมางภาษีต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ อาจจะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลได้

ทั้งนี้ นิตยสาร Forbes ทำการจัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไทยประจำปี 2564 พบว่าเศรษฐีไทยทั้งหมด 50 คน มีความร่ำรวยเพิ่มขึ้นถึง 20% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้