คันทรีการ์เดน ยักษ์ธุรกิจอสังหาฯ จีน ชักดาบสมบูรณ์แบบเป็นบริษัทฟื้นฟูกิจการใหญ่ที่สุด

310
0
Share:
คันทรี การ์เดน ยักษ์ธุรกิจอสังหาฯ จีน ชักดาบสมบูรณ์แบบเป็นบริษัทฟื้นฟูกิจการใหญ่ที่สุด

ซิตี้คอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยจดหมายแจ้งต่อนักลงทุนที่ถือครองหุ้นกู้บริษัทคันทรี การ์เดน โฮลดิ้งส์ ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังริมทรัพย์สัญชาติจีนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 1 ในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ระบุว่า ความล้มเหลวของบริษัทคันทรี การ์เดน โฮลดิ้งส์ ในการจ่ายดอกเบี้ยให้กับนักลงทุนภายให้อยู่ในระยะเวลาผ่อนผันจากกำหนดเดิม ซึ่งสิ้นสุดเส้นตายในสัปดาห์ผ่านไป พิจารณาว่าบริษัทดังกล่าวเข้าสู่ภาวะไม่สามารถชำระหนี้ได้ หรือ Default

สถานการณ์ดังกล่าวทำให้บริษัทคันทรี การ์เดน โฮลดิ้งส์ มีความเป็นไปได้สูงที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ และฟื้นฟูกิจการ ที่มีขนาดใหญ่เป็นประวัติการณ์ของจีนแผ่นดินใหญ่ นอกจากนี้ บริษัทดังกล่าวถือเป็นการเบี้ยวหนี้นักลงทุนหรือเจ้าหนี้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ตั้งบริษัทเป็นต้นมา

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2023 บริษัทคันทรี การ์เดน โฮลดิ้งส์ ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังริมทรัพย์สัญชาติจีนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 1 ในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ แจ้งว่าบริษัทไม่สามารถรักษาสัญญาการไถ่ถอนหุ้นกู้ของบริษัทในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกับนักลงทุนต่างชาติได้ตรงตามกำหนดวันและเวลาในช่วงระยะเวลาการผ่อนผันเลยกำหนดวันไถ่ถอนหุ้นกู้เดิม หรือ Grace Period ได้

นักลงทุนหรือเจ้าหนี้ที่ถือครองหุ้นกู้ของบริษัทคันทรี การ์เดน โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า หลังพ้นเวลาเส้นตายในช่วงเช้าของวันที่ 18 ตุลาคมผ่านมา ยังไม่ได้รับการจ่ายรายได้ดอกเบี้ยหุ้นกู้คืนในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแต่อย่างใด ทั้งนี้การจ่ายคืนดอกเบี้ยของหุ้นกู้ดังกล่าวมีมูลค่า 15.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 570 ล้านบาทจากบริษัทคันทรี การ์เดน โฮลดิ้งส์ นอกจากนี้ ยังไม่มีการติดต่อกลับมาจากบริษัทคันทรี การ์เดน โฮลดิ้งส์ อีกด้วย เส้นตายในวันนี้อยู่ในช่วงระยะเวลาผ่อนผันเลยกำหนดวันไถ่ถอนหุ้นกู้เดิม หรือ Grace Period

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคมผ่านมา คันทรี การ์เดน โฮลดิ้งส์ บริษัทพัฒนาอสังริมทรัพย์สัญชาติจีนที่เคยมีขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 1 ในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ส่งเอกสารชี้แจงไปยังตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ระบุว่า บริษัทคาดการณ์ว่าไม่อาจสามารถที่จะชำระหนี้คืนให้กับนักลงทุนต่างประเทศเมื่อหุ้นกู้ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้ถึงกำหนดเวลาการไถ่ถอน หรืออยู่ภายในช่วงระยะเวลาผ่อนปลนให้มีการชำระล่าช้าจากกำหนดวันชำระเดิม หรือ Grace Period ข้อมูลจากบลูมเบิร์ก พบว่า คันทรี การ์เดน โฮลดิ้งส์ มีมูลค่าหนี้เงินกู้คงค้างรวมกัน 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 407,000 ล้านบาท

การชี้แจงดังกล่าวของคันทรี การ์เดน โฮลดิ้งส์ บริษัทพัฒนาอสังริมทรัพย์สัญชาติจีน ส่งผลให้มีแนวโน้มสูงมากที่จะทำให้บริษัทดังกล่าวเกิดการผิดนัดชำระหนี้กับบรรดาเจ้าหนี้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทเป็นต้นมา และในที่สุด คันทรี การ์เดน โฮลดิ้งส์ จะต้องเข้าสู่การปรับโครงสร้างหนี้ ทำให้อาจกลายเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องปรับโครงสร้างหนี้ที่มีขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ (มีต่อ)

คันทรี การ์เดน โฮลดิ้งส์ บริษัทพัฒนาอสังริมทรัพย์สัญชาติจีนแห่งนี้ กลายเป็นสัญลักษณ์ หรือถูกตราว่าเป็นสัญลักษณ์ของวิกฤตหนี้เสียธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของจีนแผ่นดินใหญ่ โดยมูลค่าการไถ่ถอนหุ้นกู้ให้กับบรรดาเจ้าหนี้ต่างประเทศมีมูลค่า 470 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง หรือ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 2,220 ล้านบาทนั้น บริษัทไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนหุ้นกู้จำนวน 2 ชุดได้ทันภายในวันที่กำหนดไว้เดิมเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านไป และขณะนี้ การจ่ายคืนผลตอบแทนหุ้นกู้ทั้ง 2 ชุดดังกล่าวอยู่ในช่วงระยะเวลาผ่อนผันถึงวันที่ 17-18 และวันที่ 27 ตุลาคมนี้ตามลำดับ

บริษัทดังกล่าวมีภาระหนี้สินสะสมสูงถึง 1.36 ล้านล้านหยวน หรือ 187,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 7 ล้านล้านบาท ส่งผลกลายเป็นหนึ่งในบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนี้สะสมมากแห่งหนึ่งของโลก

คันทรี การ์เดน โฮลดิ้งส์ มีโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มากกว่า 3,000 โครงการกระจายอยู่ในเมืองขนาดเล็กในแต่ละมณฑลของประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ นอกจากนี้ มีการจ้างงานพนักงานมากถึง 7,000 คน ดังนั้น วิกฤตการเงินและสภาพคล่องที่เกิดขึ้นกับบริษัทคันทรี การ์เดน โฮลดิ้งส์ อาจนำไปสู่วิกฤตอสังหาริมทรัพย์ที่มีขนาดความเสียหายรุนแรงมากกว่ากลุ่มบริษัทไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป ที่เกิดขึ้นในปี 2021 ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จีนที่มีมูลค่าหนี้เสียมากที่สุดของโลก และเข้าสู่ภาวะล้มละลายไปเมื่อกว่าเดือนผ่านมา

ทั้งนี้ คันทรี การ์เดน โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่ายอดขายในเดือนกันยายนตกต่ำถึง -81% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีผ่านมา ซึ่งทำสถิติยอดขายตกต่ำถึง 4 เดือนติดต่อกัน โดยมียอดขายเดือนสิงหาคมดำดิ่งถึง -72% เดือนกรกฎาคมและมิถุนายนมียอดขายทรุดลงเดือนละกว่า -50%