นักเศรษฐศาสตร์ห่วงมาตรการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทกระตุ้นเศรษฐกิจ ดันเงินเฟ้อพุ่ง

261
0
Share:
นักเศรษฐศาสตร์ห่วงมาตรการ แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทกระตุ้น เศรษฐกิจ ดัน เงินเฟ้อ พุ่ง

นายอาริส ดาคาเนย์ นักเศรษฐศาสตร์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ธนาคารเอชเอสบีซี กล่าวว่า ฝ่ายวิจัยของธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC Global Research) ประเมินการขาดดุลทางการคลังในปีงบประมาณ 67 เพิ่มขึ้นเป็น 4.4% ของจีดีพี จากเดิมที่คาดไว้ที่ 4.1% และลดการคาดการณ์ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 67 ลงเหลือ 2.2% ของจีดีพี ซึ่งเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 2.8%

โดยที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยได้ให้คำมั่นสัญญาในช่วงหาเสียงว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการแจกเงินดิจิทัลมูลค่า 10,000 บาท และเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลในวันที่ 11 พ.ค. 67 จากการเปลี่ยนกติกาในการเลือกนายกรัฐมนตรีในวันดังกล่าว จึงคาดว่ารัฐบาลชุดที่กำลังจะเข้ามาบริหารจะเร่งผลักดันนโยบายที่เสนอไว้และกระตุ้นการใช้จ่ายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 67 ทำให้มีแนวโน้มว่าจะมีการใช้จ่ายของผู้บริโภคภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น

แต่ความเสี่ยงที่อาจตามมาคือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจจะกลับมาใช้นโยบายแบบเข้มงวดอีกครั้งหากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ แม้ว่านักลงทุนจะมีความเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่ก็ยังรอจับตาดูสิ่งที่จะเกิดขึ้นในเดือนพ.ค. 67 ก่อนการตั้งงบประมาณ สามารถทำได้หลังจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ แต่จะยังไม่มีการอนุมัติงบประมาณไปจนกว่าจะถึงช่วงต้นของปีงบประมาณ 67 (ซึ่งเริ่มในเดือนต.ค. 66) ด้วยเวลาที่จำกัดและรัฐบาลชุดใหม่จำเป็นต้องเสนองบประมาณให้รัฐสภาพิจารณา ดังนั้นเราจึงคาดว่าการใช้จ่ายของรัฐบาลจะยังคงลดลงในไตรมาส 4/66 ซึ่งจะส่งผลให้การเติบโตมีการชะลอตัวลงอีก จากเดิมที่ต่ำกว่าการคาดการณ์อยู่แล้ว โดยในไตรมาส 2/66 เติบโตเพียง 1.8% เท่านั้นเมื่อเทียบกับปีก่อน

อย่างไรก็ตามยังมีความวิตกกังวลว่าจะกระทบกับเสถียรภาพทางการคลัง และนำไปสู่ปัญหาเงินเฟ้อ โดยเฉพาะแคมเปญแจกเงินดิจิทัลให้กับคนไทยทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 3.1% ของจีดีพี และยังมีนโยบายอื่นๆ อีก ทั้งขึ้นค่าแรง 600 บาท นโยบายเกษตร จึงทำให้คาดว่าการขาดดุลทางการคลังในปีงบประมาณ 67 จะอยู่ที่ 4.4% ของจีดีพี จากที่ก่อนหน้านี้อยู่ที่ร้อยละ 4.1 หรือ 8.4 แสนล้านบาท ก่อนการเลือกตั้งรัฐบาลชุดที่แล้วได้จัดสรรงบประมาณเอาไว้ที่ 3.35 ล้านล้านบาท โดยคาดการณ์การขาดดุลที่ 6 แสนล้านบาท หรือประมาณ 3.0% ของจีดีพี ซึ่งจะมาจากค่าใช้จ่ายในการแจกเงินดิจิทัลที่เพิ่มเข้ามา

นอกจากนี้ธนาคารยังมองว่าการใช้จ่ายของรัฐบาลจะกระจุกตัวอยู่ในช่วงครึ่งแรกของปี 67 ซึ่งจะกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นทั้งในภาครัฐและเอกชน และคาดการณ์ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 67 จะลดลงมาอยู่ที่ 2.2% ของจีดีพี อีกทั้งยังคงคาดการณ์สำหรับปี 66 ไม่เปลี่ยนแปลงที่ 2.0%

ทั้งนี้การท่องเที่ยวฟื้นตัวดีขึ้น ธปท. และรัฐบาลมีการคาดการณ์ว่าบัญชีดุลสะพัดจะเกินดุล 6-7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 66 (หากมีนักท่องเที่ยว 28-29 ล้านคน) และทีมวิจัยทางเศรษฐกิจของธนาคารเอชเอสบีซีเชื่อว่าน่าจะมีแนวโน้มที่สูงกว่านั้นอีก โดยคาดว่าจะเกินดุล 1.1 หมื่นล้าน