นั่งยาว! คมนาคม พร้อมชงสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นเข้าครม.หลังทบทวนกรอบวงเงินใหม่

126
0
Share:

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ภายในสัปดาห์นี้ กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทาง เพื่อนำเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา หลังจากก่อนหน้านี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้สรุปการศึกษารถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยายทั้ง 3 เส้นทางและเตรียมเสนอครม.แล้ว แต่มีการดึงเรื่องกลับมาปรับแก้ไขใหม่ เพื่อความรอบคอบ รวมไปถึงอาจพิจารณาต่อขยายเส้นทางสายเหนือออกไปถึงอยุธยาและสายตะวันตกถึงนครปฐมเพื่อให้เป็นระบบรางหลักรองรับการขยายตัวของเมืองและชุมชนใหม่ๆรอบกทม. และนคร

ล่าสุด ไม่ได้ปรับเปลี่ยนใดๆ ยังคงยึดตามแผนแม่บท มีเพียงการทบทวนกรอบวงเงินให้สอดคล้องกับประกาศกรมบัญชีกลางเท่านั้น

สำหรับ รถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง วงเงินรวม 21,760.25 ล้านบาท ได้แก่

1. สายสีแดงช่วงตลิ่งชันศาลายา ระยะทางรวม 14.8 กิโลเมตร (กม.) มี 6 สถานี ได้แก่ สถานีพระราม 6 สถานีบางกรวยกฟผ. สถานีบ้านฉิมพลี สถานีกาญจนาภิเษก สถานีศาลาธรรมสพน์ และสถานีศาลายา วงเงินโครงการ 10,670.27 ล้านบาท รฟท. ดำเนินการกำหนดราคากลาง (Factor F) ตามประกาศของกรมบัญชีกลาง เมื่อวันที่ 28 .. 2566 แล้ว วงเงินยังอยู่ภายใต้กรอบวงเงินเดิม คาดเปิดประมูลในปี 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 35 เดือน (ปี 2568-2571) เปิดบริการปี 2571

2. สายสีแดง ช่วงรังสิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทางรวม 8.84 กม. มี 4 สถานี ได้แก่ สถานีคลองหนึ่ง สถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สถานีเชียงราก และสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วงเงินโครงการ 6,473.98 ล้านบาท ซึ่งปรับจาก 6,468.69 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นประมาณ 5.29 ล้านบาท เนื่องจาก คำนวนปรับราคากลาง (Factor F) มีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จาก 5% เป็น 7% คาดเปิดประมูลในปี 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 35 เดือน (ปี 2568-2571) เปิดบริการปี 2571

3. สายสีแดง ช่วงตลิ่งชันศิริราช ระยะทางรวม 5.7 กม. มี 3 สถานี ได้แก่สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน สถานีจรัญสนิทวงศ์ และสถานีธนบุรีศิริราช วงเงินโครงการ 4,616 ล้านบาท รฟท. ดำเนินการกำหนดราคากลาง (Factor F)ตามประกาศของกรมบัญชีกลาง เมื่อวันที่ 28 .. 2566 แล้ว วงเงินยังอยู่ภายใต้กรอบวงเงินเดิมคาดเปิดประมูล ในปี 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 35 เดือน (ปี2568-2571) เปิดบริการปี 2571

ทั้งนี้ ทางคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท.ได้มีมติอนุมัติโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 อีก 3 เส้นทางระยะทางรวม 634 กม. วงเงินรวมทั้งสิ้น 133,147.23 ล้านบาท ซึ่งรฟท.เตรียมนำเสนอมาที่กระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอครม.ต่อไปซึ่งจะพยายามผลักดันให้ก่อสร้างภายในปี 2567 ได้แก่

ช่วงปากน้ำโพเด่นชัย ระยะทาง 281 กม. วงเงิน 81,143.23 ล้านบาท

ช่วงชุมทางถนนจิระอุบลราชธานี ระยะทาง 308 กม. วงเงิน 44,103.11 ล้านบาท

ช่วงชุมทางหาดใหญ่ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กม. วงเงิน 7,900.89 ล้านบาท

โดยเฉพาะเส้นทางชุมทางหาดใหญ่ปาดังเบซาร์ ที่จะช่วยสนับสนุนการค้าชายแดน เส้นทางมีระยะทางสั้น 45 กม. สามารถดำเนินการได้เร็ว

นอกจากนี้ จะเร่งอีก 3 เส้นทาง ซึ่งอยู่ในขั้นตอนเตรียมเสนอบอร์ด รฟท.พิจารณา ระยะทางรวม 678 กม. วงเงินรวม 148,591.50 ล้านบาท ได้แก่

ช่วงชุมพรสุราษฎร์ธานี ระยะทาง 168 กม. วงเงิน 24,294.36 ล้านบาท

ช่วงสุราษฎร์ธานีหาดใหญ่สงขลา ระยะทาง 321 กม. วงเงิน 67,459.36 ล้านบาท

ช่วงเด่นชัยเชียงใหม่ ระยะทาง 189 กม. วงเงิน 56,837.78 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้ ครม.ได้อนุมัติไปแล้ว 1 เส้นทางคือ ช่วงขอนแก่นหนองคาย ระยะทาง 167 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 29,748 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการจัดทำเอกสารประกวดราคา (TOR) คาดว่าจะเปิดประกวดราคาก่อสร้างได้เร็วๆ นี้ ตามแผน จะเริ่มก่อสร้างภายในเดือนก.. 2567