นายกฯเซ็นตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงคดี ‘บอส อยู่วิทยา

910
0
Share:

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ลงนามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 225/2563 เรื่อง “แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายกรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน” โดยคำสั่งมีเนื้อหาดังนี้
.
ตามที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาในคดีขับรถชนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ระหว่างปฏิบัติหน้าที่จนเป็นเหตุให้เสียชีวิตเหตุเกิดในกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2555 พนักงานสอบสวนได้ตั้งข้อหาหลายข้อหาและผู้ต้องหาหลบหนีการดำเนินคดีต่อมาคดีบางข้อหาได้ขาดอายุความในส่วนข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายนั้น พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องและฝ่ายตำรวจไม่มีความเห็นแย้งคำสั่งไม่ฟ้อง จึงมีผลเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ไม่ตัดสิทธิของผู้เสียหายซึ่ง รวมถึงบุพการีบุตรและคู่สมรสที่จะฟ้องคดีเอง และขอทราบสรุปพยานหลักฐาน
.
พร้อมทั้งความเห็นในการสั่งคดีหรืออาจขอดำเนิดดีใหม่เมื่อได้พยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีหรือขอความเป็นธรรมและความช่วยเหลือจากรัฐ
.
โดยที่คดีนี้อยู่ในความรับรู้และสนใจของประชาชนต่อเนื่องมาโดยตลอดนับ แต่เกิดเหตุเมื่อพ.ศ.2555 เมื่อปรากฎผลการสั่งคดีอันเป็นขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมชั้นต้นก่อนมีคำพิพากษาของศาลเช่นนี้จึงเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ทางสื่อและสังคมทั่วไปอย่างกว้างขวางถือเป็นความอ่อนไหวกระทบกระเทือนตวามเชื่อในองค์กรเจ้าหน้าที่และกระบวนการยุติธรรมแม้ในส่วนของการใช้ดุลยพินิจและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการย่อมมีอิสระในการสั่งคดีตามรัฐรรมนูญและกฎหมายโดยไม่อยู่ในการบังคับบัญชาของฝ่ายบริหารและพนักงานสอบสวนจะอยู่ใการตรวจสอบตามกฎหมายและระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ตาม
.
แต่กรณีนี้มีเหตุพิเศษที่สังคมควรมีโอกาสทราบในส่วนของข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตลอดจนพฤติการณ์และบุคลเกี่ยวข้องเพื่อความโปร่งใสและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายทั้งหากมีส่วนใดที่ควรปรับปรุงแก้ไขให้การบังคับใช้กฏหมายและการพัฒนากระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติจะได้นำมาเป็นกรณีศึกษาเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปโดยเร่งด่วนต่อไป
.
อาศัยอำนาตามความในมาตรา 11 (6)แห่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534 นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชนประกอบด้วย
.
1.นายวิชามหาคุณ เป็น ประธานกรรมการ
.
2.ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็น กรรมการ
.
3.เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็น กรรมการ
.
4.ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย เป็น กรรมการ
.
5.ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม เป็น กรรมการ
.
6.นายกสภาทนายความแห่งประเทศไทย เป็น กรรมการ
.
7.คณบดีคณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น กรรมการ
.
8.คณบดีคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น กรรมการ
.
9.คณบดีคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นกรรมการ เป็น กรรมการ
.
10.ผู้อำนวยการสำนักงานป.ย.ป.กรรมการและเลขานุการ เป็นกรรมการ และเลขานุการ
.
ทั้งนี้กรรมการตามข้อ 4 และ 5 อาจมอบหมายกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านนั้นๆซึ่งไม่มีส่วนได้เสียในคดีเข้าร่วมประชุมแทนได้และให้ประธานกรรมการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการได้มีจำนวนไม่เกินห้าคน
.
ข้อ 2 คดีอาญาที่อยู่ใความสนใจของประชาชนตามคำสั่งนี้หมายถึงคดีตามข้อเท็จจริงที่กล่าวถึงข้างต้น
.
ข้อ 3 คณะกรรมการตามข้อ 1 มีหน้าที่และอำนาจตรวจสอบข้อเท็จริงและข้อกฎหมายในคดีตามข้อ 2 และเสนอแนะแนวทางเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เพื่อประโยชน์ในด้านการพัฒนาองค์ความรู้การปฏิบัติหน้าที่และการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตลอดจนเสนอข้อแนะนำอื่นใดโดยไม่ก้าวล่วงหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ในคดีดังกล่าวแล้วรายงานนายกรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ
.
แต่หากนายกรัฐมนตรีเห็นว่าข้อเสนอแนะในการปฏิรูปยังไม่แล้วเสร็จอาจให้ขยายระยะเวลาอีกได้ทั้งนี้ให้คณะกรรมการรายงานเบื้องต้นต่อนายกรัฐมนตรีเป็นระยะทุกสิบวัน
.
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งคณะกรรมการมีอำนาจเชิญหรือประสานขอความร่วมมือหรือขอเอกสารต่างๆจากเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบสอบถามหรือขอความเห็นและให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ความร่วมมือแก่คณะกรรมการนอกจากนี้คณะกรรมการอาจรับฟังความเห็นข้อเสนอแนะและพิจารณาเรื่องร้องเรียนในคดีนี้จากประชาชนได้
.
ข้อ 4 ให้คณะกรรมการตามข้อ 1และผู้ช่วยเลขานุการได้รับเบี้ยประชุมตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
.
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะทำงานเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อพิจารณาศึกษาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้โดยให้คณะทำงานได้รับค่าตอบแทนตามที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยเบี้ยประชุมตามวรรคหนึ่งและค่าตอบแทนตามวรรคสองให้เบิกจ่ายจากสำนักงานป.ย.ป.ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมพ.ศ. 2563 เป็นต้นไป