บริษัทเอกชนทั่วโลกจำนวนมากส่อชักดาบมากขึ้น บริษัทในเอเชียเบี้ยวจ่ายหนี้สูงสุดใน 25 ปี

228
0
Share:
บริษัท เอกชนทั่วโลกจำนวนมากส่อชักดาบมากขึ้น บริษัทในเอเชียเบี้ยวจ่าย หนี้ สูงสุดใน 25 ปี

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) และกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) เปิดเผยบทความด้านตลาดตราสารหนี้ เรื่องอัตราการผิดนัดชำระหนี้ของตราสารหนี้ทั่วโลก เริ่มส่งสัญญาณวิกฤต ? โดยมีประเด็นและเนื้อหาสำคัญ ดังนี้

สถานการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสำคัญทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ โดยเฉพาะหุ้นกู้ของบริษัทเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอัตราการผิดนัดชำระหนี้ หรือ Default Rate เมื่อเปรียบเทียบกับตราสารหนี้ หรือหุ้นกู้เอกชนกลุ่มความเสี่ยงด้านการเก็งอัตราผลตอบแทน หรือ Speculative grade Bonds ทั้งหมดของทั่วโลก พบว่าเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ระดับ 1.7% ในปี 2564 ขึ้นมาเป็นที่ 1.9% ในปี 2565

ตัวชี้วัดดังกล่าวโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีอัตราเพิ่มขึ้นมากจากระดับเดิมที่ 3.2% ในปี 2564 พุ่งสูงขึ้นเป็น 6.4% ในปี 2565 สาเหตุสำคัญเกิดจากวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นลุกลามในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ นอกจากนี้ภูมิภาคเอเชียมีอัตราระยะเวลาเฉลี่ยที่จะผิดนัดชำระหนี้ หรือ Average Time to Default เร็วกว่าค่าเฉลี่ยดังกล่าวทั่วโลก

สถานการณ์ตลาดตราสารหนี้ โดยเฉพาะหุ้นกู้เอกชนทั่วโลก และตลาดตราสารหนี้หรือหุ้นกู้เอกชนในประเทศไทย พบว่าในปี 2565 ทั่วโลกมีตราสารหนี้ หรือหุ้นกู้เอกชนที่เข้าข่ายกลุ่มการเก็งอัตราผลตอบแทน หรือ Default Speculative-grade Bonds ถึง 71 ครั้ง และอัตราผิดนัดชำระหนี้ หรือ Default Rate เมื่อเปรียบเทียบกับตราสารหนี้กลุ่มความเสี่ยงด้านการเก็งอัตราผลตอบแทน หรือ Speculative-grade Bonds ทั้งหมด พบว่า เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่ 1.7% ขึ้นมาเป็น 1.9%

สิ่งสำคัญ คือ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีอัตราผิดนัดชำระหนี้ของตราสารหนี้ หรือหุ้นกู้เอกชนกลุ่มเก็งอัตราผลตอบแทน หรือ Speculative-grade Default Rate เพิ่มขึ้นจากเดิมในปี 2564 ที่ 3.2% ขึ้นมาสูงเป็น 6.4% สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งมาจากการถดถอยของธุรกิอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ในปี 2565 ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีอัตราการผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยในระยะยาว อุตสาหกรรมบริโภคและมีบริการมีอัตราการผิดนัดชำระหนี้สูงที่สุดถึง 1.95%

วิกฤติเศรษฐกิจแต่ละครั้งที่เกิดขึ้นในช่วงผ่านมา พบว่าจำนวนบริษัทที่ผิดนัดชำระหนี้ หรือ Corporate Default เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสาคัญในช่วงระหว่างปี 2524 – 2565 ในระดับทั่วโลกเกิดสภาวะบริษัทที่ผิดนัดชำระหนี้จำนวน 3,253 ครั้ง แต่ในภูมิภาคเอเชียช่วงระหว่างปี 2536-2565 มีบริษัทที่ผิดนัดชำระหนี้จำนวนเพียง 131 ครั้ง ในปี 2565 มูลหนี้บริษัทที่ผิดนัดชำระหนี้ทั่วโลกมีมากกว่า 107,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 3.75 ล้านล้านบาท ขณะที่ในภูมิภาคเอเชียมีมูลหนี้บริษัทที่ผิดนัดชำระหนี้มากกว่า 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 52,500 ล้านบาท

จำนวนการผิดนัดชำระหนี้ของตราสารหนี้ หรือหุ้นกู้เอกชนในเอเชียเมื่อปี 2565 ปรากฏว่า ทำสถิติสูงสุดตั้งแต่ปี 2540 หรือในรอบ 25 ปี ซึ่งสวนทางกับทั่วโลก เนื่องจากเป็นผลกระทบจากอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่

ในปี 2565 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิครวมประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ หรือ Emerging Markets ออกตราสารหนี้โดยได้รับการจัดอันดับการลงทุนระดับ BBB หรือระดับลงทุนได้ (Investment Grade) พบว่าเป็นสัดส่วนมากที่สุด แต่ในทางกลับกัน ระดับโลกกลับพบว่ามีสัดส่วนการออกตราสารหนี้ในระดับเก็งผลตอบแทน หรือ B (Speculative Grade) มากที่สุด

สถิติต่อมาที่น่าสนใจ ในปี 2565 ระยะเวลาเฉลี่ยที่บริษัทจะผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งเริ่มนับจาก Credit Rating เริ่มต้น ในภูมิภาคเอเชียเฉลี่ยอยู่ที่ 3.5 ปี ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่บริษัทจะผิดนัดชำระหนี้ทั่วโลกอยู่ที่ 6.2 ปี ดังนั้น แม้บริษัทในภูมิภาคเอเชียจะมีสัดส่วนการออกตราสารหนี้ที่อันดับการลงทุนที่ดีกว่าทั่วโลก แต่ระยะเวลาเฉลี่ยที่บริษัทในเอเชียจะผิดนัดชำระหนี้ หรือ Default กลับรวดเร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกในทุกอันดับการลงทุน

สำหรับสถานการณ์ตราสารหนี้ในประเทศไทยในปัจจุบันนับถึงเดือนสิงหาคม 2566 ฐานข้อมูล SEC Open Data แสดงให้เห็นว่า ตราสารหนี้ของบริษัทสัญชาติไทยถูกจัดอยู่ในระดับการลงทุนได้ หรือ Investment-grade Bond ทีมูลค่าสูงถึง 27 ล้านล้านบาท ถ้าแบ่งตามระยะเวลาของตราสารหนี้ จะพบว่าตราสารหนี้ไทยเป็นหนี้ระยะสั้น 45% หรือมูลค่ากว่า 8.9 ล้านล้านบาท และตราสารหนี้ระยะยาว 55% หรือมูลค่ากว่า 10 ล้านล้านบาท

ทั้งนี้ สมาคมตราสารหนี้ไทย หรือ ThaiBMA เปิดเผยว่าตราสารหนี้ในแต่ละอันดับที่มีโอกาสที่จะเกิดการผิดนัดชำระหนี้ โดยที่อันดับที่สูงกว่า BBB จะถือว่าเป็นกลุ่มลงทุนได้ หรือ Investment Grade และอันดับต่ำกว่า BBB จะถือว่าเป็นกลุ่มเก็งผลตอบแทน หรือ Speculative Grade