ประชาชนหมดกำลังซื้อ หันไปซื้อจากร้าน Street Food ที่มีราคาถูกมากขึ้น แทนการสั่งจากฟู๊ดเดลิเวอรี่

495
0
Share:

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า การยกระดับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ประกอบกับการทำตลาดของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจัดส่งอาหาร ทำให้คาดว่าธุรกิจจัดส่งอาหารไปยังที่พักในปีนี้ จะมีมูลค่ารวมสูงถึง 5 หมื่น 5 พัน 800 ล้านบาท หรือ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 24.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยจะมีปริมาณการสั่งอาหารจัดส่งที่บ้านไม่น้อยกว่า 120 ล้านครั้งหรือ เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิดในปี 62 แต่ในแง่รายได้ของร้านอาหารจะหายไปไม่ต่ำกว่า 6 หมื่นล้านบาท, จากช่องทางการสร้างรายได้ที่จำกัด

ผลักดันให้ Food Delivery กลายมาเป็นช่องทางการสร้างรายได้หลัก / แต่ที่น่าสนใจ พบพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป คือ ระดับราคาเฉลี่ยครั้งที่สั่ง ลดลงถึงร้อยละ 25 และหันมาสั่งอาหารในระดับราคาที่สอดคล้องกับกำลังซื้อ และหันไปสั่งซื้อจากร้านอาหารข้างทาง หรือ Street Food มากขึ้นส่งผลให้ร้าน Street Food มีส่วนแบ่งรายได้มากกว่าร้อยละ 40 ของมูลค่ารวมของธุรกิจจัดส่งอาหาร จากเดิมในปี 63 อยู่ที่ร้อยละ 29 เนื่องจากระดับราคาถูกสอดคล้องกลับรายได้ผู้บริโภคที่ลดลง นอกจากนี้ พื้นที่การสั่งอาหาร ยังขยายออกไปสู่บริเวณปริมณฑลมากขึ้น สอดรับกับการปรับรูปแบบการทำงานของภาคธุรกิจมาเป็น Work from home และ Hybrid working