ผงะเศรษฐกิจไทยนอกระบบโตเร็วและขนาดใหญ่มาก ยื่นเสียภาษี 11 ล้านคน จ่ายภาษีแค่ 4 ล้านคน

89
0
Share:
ผงะ เศรษฐกิจ ไทยนอกระบบโตเร็วและขนาดใหญ่มาก ยื่นเสีย ภาษี 11 ล้านคน จ่ายภาษีแค่ 4 ล้านคน

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจนอกระบบของประเทศไทยมีขนาดใหญ่มาก ซึ่งจากข้อมูลผู้เสียภาษีที่อยู่ในระบบภาษี พบว่ามีจำนวนผู้เสียภาษีจำนวนน้อย โดยประชาชน 66 ล้านคน มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี 10-11 ล้านคน และผู้มีภาระภาษีต้องจ่ายมีจำนวน 4 ล้านคนเท่านั้น ด้านแรงงาน 51% เป็นแรงงานนอกระบบ และ 49% เป็นแรงงานอยู่ในระบบ ในขณะเดียวกัน ยังพบความเหลื่อมล้ำสูงในประเทศไทย รวมถึงการมีธุรกิจนอกระบบเป็นจำนวนมาก

ในเวลาเดียวกันสภาพหนี้นอกระบบจากตัวเลขจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) พบว่ามีหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 135,000 ล้านบาท แต่จากการประเมินของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หนี้ดังกล่าวอยู่ที่ 3.97 ล้านล้านบาท ยังไม่แน่ชัดว่าตัวเลขใดชัดเจนที่สุด

ประธานสมาคมธนาคารไทย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมี 6 ปัญหาใหญ่ที่มาพร้อมกับเศรษฐกิจนอกระบบ ดังนี้ ปัญหาแรก รายได้อยู่ในระดับต่ำ หรือต่ำกว่าศักยภาพ ปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้ำสูง ปัญหาการกำกับดูแลธรรมาภิบาลด้อย ทำให้เกิดคุณภาพในระบบราชการ การควบคุมการทุจริต คอร์รัปชั่น หรือการบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่สนับสนุนหรือเอื้อการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ หรือศักยภาพของระบบเศรษฐกิจหรือไม่

ปัญหาผลิตภาพที่อยู่ในระดับต่ำ ปัญหาความยืดหยุ่นหรือภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยงมีต่ำต่อปัญหาเศรษฐกิจโลก หากเศรษฐกิจนอกระบบสูงจะเห็นการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจไทย เมื่อเกิดโควิดเศรษฐกิจนอกระบบมักยึดโยงภาคบริการและภาคแรงงานสูง เมื่อฟื้นตัวกลับมาหลังจากเกิดวิกฤต ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจช้ากว่าหลายประเทศ และปัญหาสุดท้าย คือ มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ช้า

ดังนั้น 3 ปัจจัยหลักที่ไทยควรให้ความสำคัญ คือ 1.ลดต้นทุนแฝงจากเศรษฐกิจนอกระบบ 2.การส่งเสริมให้เอสเอ็มอีเข้าสู่ธุรกิจในระบบ เพิ่มอำนาจต่อรองกับรายใหญ่ 3.การแก้ไขหนี้นอกระบบ โดยจะต้องทำอย่างครบวงจร ตั้งอยู่บนหลักความเป็นธรรม โดยจากข้อมูล พบว่า 27% ครัวเรือนยังเข้าไม่ถึงสินเชื่อในระบบ เนื่องจาก พบว่า 75% ต้องใช้เงินฉุกเฉิน ไม่มีข้อมูลที่จะเข้าไปถูกรับการประเมินได้ และ 63% มีความจำเป็นต้องใช้เงินออมหากต้องหยุดงานน้อยกว่า 3 เดือน หรือไม่ทราบสถานะเงินออมตนเอง และยังพบว่า 40% ยังไม่ได้คำนึงถึงการออม