มีแต่เพิ่ม !เครดิตบูโร ห่วง หนี้เสีย รถยนต์พุ่งสูง 20% แตะ 2.07 แสนล้านบาท แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

364
0
Share:

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิต บูโร) เปิดเผยว่า หนี้ที่น่าเป็นห่วง คือ หนี้รถยนต์ที่มีหนี้เสียเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนของ NPL หรือ หนี้เสีย และ SM  ขณะที่การปรับโครงสร้างหนี้ของสินเชื่อรถยนต์เป็นที่เรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากอายุการใช้งานจำกัด ประมาณ 10 ปี ซึ่งหากมีการยืดหนี้ออกไปจะทำให้ไม่คุ้มกับค่าเสื่อมของอายุการใช้งานรถยนต์  ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตในอัตราที่ต่ำ รายได้ยังไม่เพิ่ม ประกอบกับราคาน้ำมันที่ยังสูง แนวโน้มหนี้เสียของกลุ่มสินเชื่อรถยนต์จึงน่าจะเพิ่มขึ้น

ขณะที่ SM ของสินเชื่อบ้านที่สูงขึ้นนั้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นส่วนของบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่าเป็นสินเชื่อของกลุ่มคนรายได้ปานกลางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 รวมถึงค่าครองชีพที่สูงขึ้น แต่เชื่อว่าแนวโน้ม NPL ในระยะต่อไปจะเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ไม่สูงถึงระดับก้าวกระโดด เนื่องจาก SM ที่เพิ่มขึ้นเป็นเพียงบางกลุ่ม ขณะเดียวกัน ทางธนาคารพาณิชย์ก็เร่งปรับโครงสร้างหนี้ก่อนที่จะหมดมาตรการช่วยเหลือทางการเงินหรือมาตรการฟ้าส้มที่จะหมดในสิ้นปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะมียอดปรับโครงสร้างหนี้ทะลุ 1 ล้านล้านบาท

สะท้อนจากฐานข้อมูลของเครดิต บูโร ณ สิ้นสุดไตรมาส 3 ปี 2566 มียอดสินเชื่อของสมาชิกเครดิตบูโรในระดับ 13.5 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ที่ระดับ 1.05 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 อยู่ที่ระดับ 1.03 ล้านล้านบาท

โดยแบ่งเป็นส่วนของ NPL สินเชื่อรถยนต์มีอัตราการเพิ่มขึ้นถึง 20.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มาเป็น 2.07 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นจำนวนบัญชี 6.39 แสนบัญชี มาเป็น 6.94 บัญชี และส่วนของ NPL สินเชื่อบ้าน 1.81 แสนล้านบาท ลดลง 1.7% รวมถึง NPL สินเชื่อบัตรเครดิต 5.8 หมื่นล้านบาท ลดลง 9.6% สินเชื่อบุคคล 2.61 แสนล้านบาท ลดลง 0.8%

ทั้งนี้สินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) หรือค้างชะรำ 1-3 เดือน อยู่ที่ 5 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.05 แสนล้านบาท หรือ 21.4% เป็นส่วนของสินเชื่อบ้าน 1.36 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 37.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินเชื่อรถ 2.13 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.5% สินเชื่อเครดิตการ์ด 9.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.5% สินเชื่อบุคคล 8.6 หมื่นล้านบาท 17.7%

เมื่อรวม NPL และ SM แล้วจะอยู่ที่ระดับ 1.55 ล้านล้านบาท โดยอัตราการไหลกลับจาก SM กลับไปเป็นหนี้ NPL หรือ Migration rate ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เคยเปิดเผยนั้น Migration rate สินเชื่อบ้านอยู่ที่ 22% สินเชื่อรถ 12% สินเชื่อบุคคล 54% และสินเชื่อบัตรเครดิต 57%