รัฐเกรละในอินเดียสั่งปิดสถานที่สาธารณะ ป้องกันไวรัสนีปาห์ระบาดหนัก เสียชีวิตแล้ว 2

175
0
Share:
รัฐเกรละ ใน อินเดีย สั่งปิดสถานที่สาธารณะ ป้องกัน ไวรัสนีปาห์ ระบาดหนัก เสียชีวิตแล้ว 2

สาธารณสุขแห่งรัฐเกรละ ประเทศอินเดีย แถลงว่า ได้ประกาศคำสั่งปิดสถานศึกษา สำนักงาน สถานที่ราชการ สถานที่ประกอบศาสนกิจทางศาสนา บริการขนส่งมวลชน ที่ตั้งอยู่ในเมืองต่างๆทางตอนใต้ของรัฐเกรละตลอดทั้งสัปดาห์นี้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะได้เริ่มปฏิบัติการตรวจหา และสอบสวนแหล่งระบาดเชื้อไวรัสนีปาห์ (Nipah) เพื่อที่จะหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าวที่คร่าชีวิตผู้ติดเชื้อไปแล้วอย่างน้อย 2 ราย ซึ่งในขณะนี้เชื้อไวรัสนีปาห์จัดเข้าข่ายสถานะการระบาดในพื้นที่ทางตอนใต้ของรัฐเกรละ ส่งผลให้เป็นการระบาดของเชื้อไวรัสร้ายแรงครั้งที่ 4 ในรอบ 5 ปี หรือตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขรัฐเกรละระดมกำลังออกเก็บสารของเหลวตัวอย่างจากค้างคาว และผลไม้บนต้นไม้หลายชนิดที่เมือง Maruthonkara ในรัฐเกรละ ซึ่งพบผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสนีปาห์เป็นรายแรกของเมือง และของประเทศอินเดีย เพื่อทำการสอบสวนและพิสูจน์ยืนยันแหล่งที่มาของเชื้อไวรัสนีปาห์ ซึ่งมีความกังวลว่าจะเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อไวนัสนีปาห์ ในปี 2018 พบว่า การตรวจหาเชื้อจากตัวอย่างของผลไม้ในเมือง Maruthonkara ในรัฐเกรละ มีผลตรวจเป็นบวก นั่นหมายถึงเป็นเชื้อไวรัสนีปาห์

ล่าสุด สาธารณสุขในรัฐเกรละ สั่งกักตัวประชาชน 77 รายที่เข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสนีปาห์ เพื่อเฝ้าสังเกตอาการ และตรวจยืนยันการติดเชื้ออีกครั้ง ในขณะที่ มีประชาชนเกือบ 800 คนในเมือง Kozhikode ได้รับการตรวจหาเชื้อในรอบ 48 ชั่วโมงผ่านมา ซึ่งพบว่ามีผู้ใหญ่ 2 ราย และเด็ก 1 ราย ต้องถูกกักตัวหลังจากผลตรวจหาเชื้อไวนัสนีปาห์ออกมาเป็นบวก นั่นหมายถึงเป็นผู้ป่วยติดเชื้อแล้ว

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO เปิดเผยว่า ในอดีตผ่านมา เมื่อปี 2001 พบการไวรัสนีปาห์ในประเทศอินเดีย และอีก 2 ครั้งที่พบการระบาดในประเทศบังคลาเทศ ทำให้ประชาชนเสียชีวิต 62 รายจากผู้ติดเชื้อไวรัสนีปาห์ 91 ราย หรือคิดเป็น 68% ที่เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสดังกล่าว ต่อมาในปี 2018 พบการระบาดในรัฐเกรละ อินเดีย ทำให้มีประชาชนเสียชีวิต 21 ราย

สำหรับเชื้อไวรัสนีปาห์ได้รับการค้นพบครั้งแรกในปี 1998 หรือเมื่อ 25 ปีผ่านมา โดยตรวจพบในตัวเกษตรเลี้ยงหมูมีชีวิตในประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ ในการระบาดครั้งแรกดังกล่าวทำให้ประชาชนในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์เสียชีวิตไปรวมกันมากกว่า 100 ราย และมีประชาชนติดเชื้อใน 2 ประเทศรวมกันกว่า 300 ราย นับตั้งแต่นั้น เชื้อไวรัสนีปาห์เข้าสู่สถานะโรคระบาด หรือ Pandemic ทำให้ประชาชนเสียชีวิตราว 72-86% ของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสนีปาห์

เชื้อไวรัสนี้สามารถติดต่อได้จากสัตว์สู่มนุษย์โดยตรงผ่านการสัมผัสของเหลวของค้างคาว และสุกร ในปัจจุบัน ยังไม่วัคซีนที่สามารถป้องกันหรือรักษาการติดเชื้อไวรัสนีปาห์ ที่สำคัญ อัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสนีปาห์มีมากถึง 70% หากพบผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสดังกล่าวแล้ว สิ่งที่ปฏิบัติได้ดีที่สุด คือ การดูแลอย่างใกล้ชิดและติดตามลักษณะอาการอย่างใกล้ชิด

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO เปิดเผยว่า สำหรับอาการของผู้ติดเชื้อไวรัสนีปาห์ ได้แก่ จะมีไข้เกิดขึ้น การหายใจติดขัดและลำบาก มีอาการปวดหัว มีอาการอาเจียน นอกจากนี้ โรคไข้สมองอักเสบ และโรคลมชัก จะสามารถเกิดขึ้นได้ในกรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสนีปาห์มีอาการรุนแรงมาก จนในที่สุดนำไปสู่อาการขั้นตรีทูต หรืออาการโคม่า องค์การอนามัยโลกจัดให้เชื้อไวรัสนีปาห์อยู่ในกลุ่มบัญชีเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคที่มีศักยภาพในการเกิดโรคระบาด นอกจากนี้ สถิติการติดเชื้อไวรัสนีปาห์ พบว่า มีการรายงานประชาชนติดเชื้อมากกว่า 600 รายในช่วงระหว่างปี 1998 ถึงปี 2015