ร่วง 3 วัน! ราคาน้ำมันดิบโลกลงกว่า 5 ดอลลาร์ใน 3 วันติดกัน ราคาหลุด 68 ดอลลาร์

140
0
Share:
ร่วง 3 วัน! ราคา น้ำมันดิบ โลกลงกว่า 5 ดอลลาร์ใน 3 วันติดกัน ราคาหลุด 68 ดอลลาร์

ตลาดซื้อขายน้ำมันดิบนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา รายงานว่า เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2023 ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา พบว่า ราคาน้ำมันดิบไนเม็กซ์ นิวยอร์ก สหรัฐ ปิดที่ 67.12 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล -3.05 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล หรือ -4.4% ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปิดลดลง 3 วันติดต่อกันรวม 5.41 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์ผ่านไปลดลง -2%

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565 มีราคาพุ่งขึ้นสูงสุดที่ 130.50 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ทำสถิติราคาน้ำมันดิบไนเม็กซ์ที่สูงสุดนับตั้งแต่กันยายน 2008 หรือในรอบ 13 ปี 5 เดือน

ด้านราคาน้ำมันดิบเบร็นท์ อังกฤษ ทะเลเหนือ ปิดที่ 71.84 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล -2.95 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล หรือ -3.9% ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปิดลดลง 3 วันติดต่อกันรวม -5.11 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์ผ่านไปลดลง -1.6%

ในปี 2022 ผ่านไปราคาน้ำมันดิบเบร็นท์ อังกฤษ มีราคาสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2008 หรือในรอบ 13 ปี 7 เดือน โดยเมื่อคืนวันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2565 มีขึ้นมาสูงสุดระหว่างวันที่ระดับ 139.13 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล

สาเหตุจากธนาคารโกลด์แมน แซคส์ ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ชื่อดังระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ได้ปรับลดเป้าหมายราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเบร็นท์ อังกฤษ ทะเลเหนือ ในช่วงสิ้นปีนี้ลงถึงบาร์เรลละ 9 ดอลลาร์สหรัฐ จากเดิมที่เคยคาดการณ์ว่าจะมีราคาเฉลี่ยที่ 95 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ลงมาอยู่ที่เฉลี่ย 86 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล

การปรับลดเป้าหมายราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยดังกล่าวของธนาคารโกลด์แมน แซคส์ นับเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 6 เดือนผ่านมา ซึ่งเคยคาดการณ์ราคาเฉลี่ยสูงสุดกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล สำหนับราคาน้ำมันดิบเบร็นท์ อังกฤษ ทะเลเหนือ เฉลี่ยทั้งปีนี้เดิมเคยประเมินไว้ที่ 88 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ลงมาเหลือที่ 82 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ส่วนในปี 2024 คาดการณ์ว่า เดิมเคยประเมินไว้ที่ 99 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ลงมาเหลือที่ 91 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล

ธนาคารโกลด์แมน แซคส์ เปิดเผยว่า สาเหตุที่ทำให้ต้องลดเป้าหมายราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยของแหล่งเบร็นท์ อังกฤษ ทะเลเหนือ เป็นผลมาจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากประเทศที่ถูกมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐอเมริกาและโลกตะวันตก เช่น รัสเซีย อิหร่าน และเวเนซุเอลา โดยเฉพาะรัสเซียเร่งเพิ่มการผลิตน้ำมันดิบใกล้เคียงกับระดับผลิตสูงสุดท่ามกลางมาตรการคว่ำบาตรจากโลกตะวันตกยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง