ศบศ.เห็นชอบปรับสิทธิพิเศษ รับนักท่องเที่ยวต่างชาติกระเป๋าหนัก

853
0
Share:

ที่ประชุม ศูนย์บริหารเศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดโควิด 19 ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เป็นประธาน ได้เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวสําหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประกอบด้วย
.
1) มาตรการส่งเสริมการจัดแพ็คเกจท่องเที่ยวสําหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ (Amazing Thailand Plus Special Package) โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับบริษัท การบินไทย จากัด (มหาชน) และสมาคมโรงแรมไทย มีข้อเสนอร่วมกันในการเป็นหน่วยธุรกิจในการดึงนักท่องเที่ยวกลับเข้ามา ในประเทศไทย ในรูปแบบของ Amazing Thailand plus Package ซึ่งจะเป็นการปรับปรุงให้อยู่ในลักษณะบริการ ครบ อาทิ การจองตั๋วเครื่องบิน การขอวีซ่าและกระบวนการเดินทางเข้าประเทศ การ จองโรงแรม/ที่พัก/ สถานที่กักตัวทางเลือก (ASQ) และบริการท่องเท่ียว เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถสืบค้นข้อมูล ต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุมและครบวงจร ผ่านเวปไซต์ www.thaiairways.com และเวปไซต์ https://www.tourismthailand.org โดยจะมีการดำเนินการตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2564 และ เดินทางได้ถึง 30 เมษายน 2564 ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติให้ ททท. จัดทำรายละเอียดมาตรการเพื่อนาเสนอ ครม. พิจารณาต่อไป
.
ที่ประชุม ยังเห็นชอบการปรับสิทธิประโยชน์รองรับกลุ่มนักลงทุนชาวต่างชาติที่มีคุณภาพและมีกําลังซื้อสูง ภายใต้โปรแกรมพิเศษ Elite Flexible Plus Program โดยผู้เข้าร่วมโปรแกรมจะต้องเป็นสมาชิกบัตร Thailand Elite ประเภทบัตรที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป และอายุบัตรตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป โดยสมาชิกเดิมต้องมี อายุสมาชิกเหลือไม่ต่ำกว่า 5 ปี ต้องยื่นความประสงค์ขอเข้าร่วมโปรแกรมและแสดงหลักฐานการลงทุน
.
โดยการลงทุนตามเงื่อนไขที่กาหนดมูลค่ารวมไม่น้อยกว่า 1 ล้านดอลลาร์ ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่ได้รับอนุมัติให้ เข้าร่วมเป็นสมาชิกภายใต้โปรแกรมพิเศษฯ ให้สามารถได้รับอนุญาตให้ทำงานในราชอาณาจักรได้ โดยทาง ททท. เสนอขอปรับสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นพิเศษ Privilege Entry Visa (PE) ให้สามารถขอใบอนุญาตทำงานสำหรับคนต่างด้าว (Work Permit) ในราชอาณาจักรซึ่งมิใช่งานที่ห้ามคนต่างด้าว ทำ ตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามสิทธิประโยชน์ของบัตรสมาชิกพิเศษ (Thailand Privilege Card) ภายใต้เงื่อนไขของโปรแกรมพิเศษฯ ท้ังนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้ ททท. ไปหารือกับ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทารายละเอียดมาตรการเพื่อ นาเสนอ ครม. พิจารณาต่อไป
.
ที่ประชุม ศบศ.เห็นชอบมาตรการส่งเสริมกํารจัดสัมมนาของภาครัฐในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบรุนแรง เสนอโดย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัวได้ โดยเสนอให้ส่วนราชการ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จัดอบรมฝึกอบรมและสัมมนา ในจังหวัดที่พึ่งพิงรายได้จากการท่องเที่ยวจาก ต่างประเทศเป็นการเร่งด่วน ภายในปีงบประมาณ 2564 โดยให้เป็นไปตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ และมอบหมายให้ทุกส่วนราชการรายงานผลการดาเนินการให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรวบรวมต่อไป
.
และยังเห็นชอบข้อเสนอโครงการบริหารเศรษฐกิจระยะปานกลางและระยะยาว ชุดที่ 2 เสนอโดย คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจ และส่งเสริมการลงทุนในระยะปานกลางและ ระยะยาว ประกอบด้วยโครงการที่ควรได้รับการส่งเสริมแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มประกอบด้วย
.
1) การขับเคลื่อน เศรษฐกิจอุตสาหกรรมยานพาหนะไฟฟ้าเพื่อให้ประเทศไทยเป็นเมืองสะอาด อาทิ โครงการรถแลกแจกแถม (รถเก่าแลกรถใหม่ 100,000 คัน) โครงการจักรยานยนต์ไฟฟ้าไทยชนะ และโครงการจัดหารถโดยสารเพื่อ ประชาชนของ ขสมก. โดยการเช่ารถโดยสารปรับอากาศไฟฟ้า เป็นต้น
.
2) การส่งเสริมอุตสําหกรรมเครื่องมือ แพทย์ อาทิ การกระตุ้นตลาดเครื่องมือแพทย์ในประเทศอย่างเร่งด่วน การพัฒนามาตรฐานและการรับรองคุณภาพ ระดับสากลเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาด และการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม
.
3) การส่งเสริมการจ้างงาน อาทิ การเสริมสร้างการจ้างงานในภูมิลาเนา โครงการบริบาลชุมชนระดับหมู่บ้าน และการส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตประชารัฐ เป็นต้น
.
4) การสนับสนุนการเดินทางเข้ามาประเทศไทยของชาวต่างชาติ อาทิ การผ่อนปรน กฎเกณฑ์การขอสินเชื่อของ ชาวต่างชาติ การเพิ่มจำนวนสถานที่กักตัวทางเลือก (Alternative State Quarantine: ASQ) และการจัดตั้ง สถานที่กักกันแรงงานต่างด้าวใน 11 จังหวัด เป็นต้น

(5) การบริหารจัดการภาครัฐด้านการเงินและการค้า ระหว่างประเทศ อาทิ การจัดทำข้อมูลด้านทรัพยากรการเงินของประเทศ และการรักษาและเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นต้น ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้คณะอนุกรรมการฯ ประสานหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อหารือรายละเอียดมาตรการ/โครงการ แหล่งเงิน และแนวทางการเร่งรัดขับเคลื่อนให้เป็นไปอย่างเหมาะสม