ศาลฯให้รัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ แต่ให้ผ่านการทำประชามติก่อน

547
0
Share:

ศาลรัฐธรรมนูญได้ประชุมปรึกษาคดี ประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจของรัฐสภา ในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 (1) (เรื่องพิจารณาที่ 4/2564)
.
ในคราวประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 3 (สมัยสามัญประจําปี ครั้งที่สอง) วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 พิจารณาญัตติด่วนกรณีที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ผู้เสนอให้รัฐสภาพิจารณามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่ และอํานาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) ผลการลงมติที่ประชุมรัฐสภา เสียงข้างมากเห็นด้วยให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจของรัฐสภาตามญัตติ ดังกล่าว ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 ประธานรัฐสภา (ผู้ร้อง) ส่งเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญรับคําร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัย
.
ผลการพิจารณา
.
คดีนี้เป็นคดีที่ไม่มีผู้ถูกร้อง จึงไม่มีการออกนั่งอ่านคําวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 76 วรรคสาม ที่ให้ถือว่าวันที่ศาลลงมติ ซึ่งเป็นวันที่ปรากฏในคําวินิจฉัยเป็นวันอ่าน
.
ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเสียงข้างมากวินิจฉัยว่า รัฐสภามีหน้าที่และอํานาจจัดทํารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอํานาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบหรือไม่ กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง
.
2. นายณฐพร โตประยูร ผู้ร้อง ยื่นคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 (เรื่องพิจารณาที่ 2/2564)
.
ข้อเท็จจริงตามคําร้องและเอกสารประกอบคําร้องเป็นกรณีที่ผู้ร้องใช้สิทธิยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 44 มาตรา 50 (1) มาตรา 51 และมาตรา 213 โดยกล่าวอ้างว่าการที่นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ และคณะ ผู้ถูกร้องที่ 1 เสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช … และนายวิรัช รัตนเศรษฐ และคณะ ผู้ถูกร้องที่ 2 เสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .. ต่อประธานรัฐสภา และนําเข้าสู่วาระการประชุมที่ประชุมร่วมกัน ของรัฐสภาโดยที่ประชุมลงมติรับหลักการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช … ทั้งสองฉบับในวาระที่หนึ่ง เป็นการกระทําที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 มาตรา 44 มาตรา 255 และมาตรา 256 ประกอบมาตรา 5 และร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .. ทั้งสองฉบับเป็นการทําลายหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรัฐสภาและหลักการ ตรวจสอบโดยประชาชนซึ่งขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 มาตรา 44 มาตรา 255 มาตรา 256 ประกอบ มาตรา 5 เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 44 วรรคหนึ่ง และเป็นการกระทําที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และขอให้มีคําสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการกระทํา
.
ผลการพิจารณา
.
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคําร้องและเอกสารประกอบคําร้องแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริง ตามคําร้องปรากฏว่าการกระทําของผู้ถูกร้องทั้งสองยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเพียงพอและยังห่างไกลเกินเหตุ ที่จะเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 449 วรรคหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์สั่งไม่รับคําร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย เมื่อมีคําสั่งไม่รับคําร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยแล้ว คําขออื่นย่อมเป็นอันตกไป
.
3. นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้ร้อง ยื่นคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 44 (เรื่องพิจารณาที่ 3/2564)
.
ข้อเท็จจริงตามคําร้อง คําร้องขอยื่นบัญชีรายชื่อ และเอกสารประกอบเป็นกรณีที่ผู้ร้อง กล่าวอ้างว่าการที่สมาชิกรัฐสภา จํานวน 576 คน ลงมติให้มีการจัดทํารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามญัตติที่ 1 ผู้ถูกร้องที่ 1 และสมาชิกรัฐสภา จํานวน 647 คน ลงมติให้มีการจัดทํารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามญัตติที่ 2 ผู้ถูกร้องที่ 2 ลงมติรับหลักการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1) ทั้งสองฉบับในวาระที่หนึ่ง เป็นการกระทําที่เป็นการใช้สิทธิ หรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 44 วรรคหนึ่ง เป็นอันใช้บังคับมิได้ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และขอให้มีคําสั่งให้ประธานรัฐสภา
.
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคําร้อง คําร้องขอยื่นบัญชีรายชื่อ และเอกสารประกอบ แล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคําร้องปรากฏว่าการกระทําของผู้ถูกร้องทั้งสองยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเพียงพอและ ยังห่างไกลเกินเหตุที่จะเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 44 วรรคหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์สั่งไม่รับคําร้องไว้พิจารณา วินิจฉัย เมื่อมีคําสั่งไม่รับคําร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยแล้ว คําขออื่นย่อมเป็นอันตกไป