สถาบันศึกษานโยบายสาธารณชี้คนไทยรุ่นใหม่หางานทำเร็วขึ้น แต่ไม่ทำงานองค์กรอยู่นาน

360
0
Share:
สถาบันศึกษานโยบายสาธารณชี้ คนไทย รุ่นใหม่ หางาน ทำเร็วขึ้น แต่ไม่ทำงานองค์กรอยู่นาน

ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด ประธานมูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ เปิดเผยการสำรวจหัวข้อภาวะการมีงานทำของคนไทย โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2566 พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ มีจำนวนแรงงานในระบบรวม 39.63 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานคนไทยราว 48.7% ที่น่าสนใจ คือ มีสัดส่วนเกินครึ่งหนึ่งเป็นแรงงานอิสระ เช่น 34% เป็นการตั้งกิจการตัวเองแบบไม่มีลูกจ้าง ร้อยละ มี 14.6% เป็นการช่วยธุรกิจในครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าจ้าง

ผลการสำรวจ เปิดเผยว่า แนวโน้มที่คนไทยรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานในระบบเริ่มตั้งแต่อายุน้อยมีจำนวนมากขึ้น สะท้อนถึงแรงงานวันรุ่นเริ่มทำงานหารายได้ด้วยตัวเองเร็วขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคนรุ่นก่อนหน้านี้ โดยพบว่า 41% ของกลุ่มคนรุ่นใหม่เจนเนอเรชั่นซี (Z) มีอายุระหว่าง 15-24 ปี เข้าสู่ตลาดแรงงานแล้ว ในช่วงวัยดังกล่าว ยังพบว่า เยาวชนชาย 24% และหญิงมี 13% เข้าสู่ตลาดแรงงาน สาเหตุจากกลุ่มคนวัยเยาวชนมีความสามารถและทักษะด้านเทคโนโลยีสามารถนำไปใช้หารายได้เร็วขึ้น ส่งผลให้คนรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานไทยจะมีอายุน้อยลง นอกจากนี้ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีดิจิตอลและการขยายตัวของแพลตฟอร์มออนไลน์ทำให้คนรุ่นใหม่เลือกทำงานอิสระมากขึ้น สามารถจัดการเวลาการทำงานกับการใช้ชีวิตส่วนตัวได้อย่างลงตัวมากขึ้น

ในแง่พฤติกรรมและทัศนคติของแรงงานวัยเยาวชนและคนรุ่นใหม่ พบว่ามีแนวโน้มที่จะไม่ทำงานในองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นเวลานานเหมือนอย่างแรงงานในวัยอื่นๆ เนื่องจากสาเหตุอันดับแรก คือ ด้านรายได้ ปริมาณงานที่หนักเกินไป การไม่มีเวลาเป็นส่วนตัว การไม่มีเวลาพักผ่อน แรงกดดันสูง ลักษณะงานมีควา ซ้ำซาก หรือจำเจ อิ่มตัวกับงานที่ทำ และอาการเบื่องาน