สนพ.เทหน้าตักลุ้นคนไทยใช้ไฟฟ้าราคาถูก หลัง กพพ.แจง 3 สูตรค่าไฟฟ้าแพงประวัติศาสตร์

256
0
Share:
สนพ. เทหน้าตักลุ้นคนไทยใช้ ไฟฟ้า ราคาถูก หลัง กพพ.แจง 3 สูตร ค่าไฟฟ้า แพงประวัติศาสตร์

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยความคืบหน้า การผลิตและการจัดหาพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ 2022 มีความคืบหน้าไปแล้ว กว่า 60% คาดว่าจะสามารถประกาศใช้ในปี 2566 นี้ โดยแผนฉบับนี้ ได้ยึดโยงกับวิถีชีวิตของประชาชน ในฐานะผู้บริโภคกับค่าใช้จ่าย ทั้งต้นทุนเชื้อเพลิงและต้นทุนสุขภาพ และเป็นแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว แต่จะมีการทบทวนหรือปรับปรุงทุกๆ 2-3 ปี โดยมีเป้าหมายอาทิ การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงาน หมุนเวียน 26,555 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (น้ำมันเตา-ก๊าซธรรมชาติ) 1,600 เมกะวัตต์ รับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ 5,207 เมกะวัตต์ ระบบกักเก็บพลังงาน 10,627 เมกะวัตต์

กระทรวงพลังงาน จึงเห็นควรให้มีการจัดทำแผนให้สะท้อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) ที่กำลังจัดทำอยู่ในขณะนี้ที่จะเน้นการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานสะอาดให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ระยะยาวของประเทศ ทำให้แผนพีดีพี 2022 ฉบับนี้ จึงได้ให้ความสำคัญในประเด็นต่างๆ

ประกอบด้วย 1.เน้นความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศ (Security) เพื่อให้มีความมั่นคงครอบคลุมทั้งระบบผลิตไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า และความมั่นคงรายพื้นที่ คำนึงถึงผู้ใช้ไฟฟ้านอกระบบ เพื่อให้ระบบผลิตไฟฟ้ามีความยืดหยุ่น เพียงพอต่อการรองรับ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition)

2.การกำหนดต้นทุนค่าไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม (Economy) โดยเฉพาะ อัตราค่าไฟฟ้าเพื่อให้มีเสถียรภาพ สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ประชาชนไม่แบกรับภาระอย่างไม่เป็นธรรม และไม่เป็นอุปสรรค ต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว

3.ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Ecology) จำกัดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ (CO2) ให้สอดคล้องตามเป้าหมายแผนพลังงานชาติ และเป้าหมายการปลดปล่อย ก๊าซเรือนกระจกในระยะยาวของประเทศ (LTS) ตามนโยบายการลดการปลดปล่อยคาร์บอน สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon) ด้วยการสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน และการเพิ่มประสิทธิภาพในระบบไฟฟ้า (Efficiency) ทั้งด้านการผลิตไฟฟ้าและการใช้ไฟฟ้าโดยมีการนำเทคโนโลยีสมาร์ทกริดมาใช้อย่างเต็มที่

ขณะที่เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายนที่ผ่านมา กกพ. ได้เปิดเผยแนวทางบริหารต้นทุนค่าผลิตไฟฟ้า โดยเปิดเผย 3 แนวทางคำนวณปรับขึ้นค่า Ft งวด ม.ค. – เม.ย. 2566 ส่งผลค่าไฟฟ้าตั้งแต่ 5.37 – 6.03 บาทต่อหน่วย ทำสถิติราคาค่าไฟฟ้าเอฟทีแพงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ นอกจากนี้ อัตราค่าไฟฟ้าดังกล่าวยังไม่รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% โดยพร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นผู้ใช้ไฟฟ้าผ่านเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 14 – 27 พ.ย. 2565 ก่อนประกาศใช้จริง