สภาพัฒน์ยอมรับเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น ไตรมาส 2 น่าผิดหวัง โตแค่ 1.8% แนะเอกชนปรับตัว

323
0
Share:
สภาพัฒน์ ยอมรับ เศรษฐกิจ ยังไม่ฟื้น ไตรมาส 2 น่าผิดหวัง โตแค่ 1.8% แนะเอกชนปรับตัว

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวในหัวข้อ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล“ ว่ายอมรับว่าจีดีพีไทยไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 1.8 นับว่าผิดหวังมาก เพราะเศรษฐกิจภาพรวมยังไม่ฟื้นตัว เมื่อการส่งออกหดตัว กระทบต่อการใช้กำลังการผลิตภาคเอกชนเพียงร้อยละ 60 นับเป็นสิ่งที่ต้องเร่งแก้ไข ไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อการจ้างงาน เมื่อการส่งออกไปต่างประเทศขนาดใหญ่มีปัญหา จึงต้องหันมาพึ่งพา การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน นับว่าไทยได้พัฒนาพอสมควร ทั้งทางถนน รถไฟทางคู่ เช่นการส่งทุเรียนไปจีน เริ่มทำได้มากขึ้น และจะเพิ่มความสำคัญมากขึ้นต่อเนื่อง รถไฟฟ้ากรุงเทพฯ-หนองคาย จึงมีความสำคัญในอนาคต รวมถึงการเชื่อมต่อไปท่าเรือแหลมฉบัง รัฐบาลชุดใหม่จึงต้องสานต่อให้สำเร็จ

สำหรับเส้นทางการบิน อาจต้องปรับการลงจอดสนามบินภูมิภาคเพิ่มเติม เช่น สนามบินภูเก็ต เชียงใหม่ ไม่ต้องมาลงจอดสนามบินสุวรรณภูมิ รวมถึงการใช้อัตราแลกเปลี่ยนเพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุนชายแดน มุ่งเน้นการใช้เงินบาทไทย ชำระสินค้าหรือแลกเปลี่ยนในภูมิภาค เพราะเงินบาทเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นตามแนวชายแดนจะทำให้การค้าชายแดนมีความสำคัญมากขึ้น สำหรับการเชื่อมโยงการค้ากับกลุ่มประเทศขนาดใหญ่ มีการรวมกลุ่ม ผ่าเวที กลุ่ม BRIC, CPTPP, RCEPT ไทยต้องเดินหน้าเจรจาให้คืบหน้า เพราะตลาดหลัก จีน สหรัฐ อียู ยังมีความสำคัญ ยอมรับการแบ่งขั้วค่อนข้างชัดเจน การค้าการลงทุน ไทยต้องวางจุดให้สมดุล ไม่ให้ได้รับผลกระทบในช่วงถัดไป

สภาพัฒน์ แนะใช้โอกาส ผู้ประกอบการย้ายฐานการผลิตจากจีน เพื่อดึงมาลงทุนในประเทศ ไทยยังขาดทักษะคุณภาพแรงงาน มองว่า สามารถยกระดับให้ดีขึ้นได้ จึงต้องปรับเปลี่ยนเปลี่ยนกฎระเบียบดึงดูดการลงทุน การส่งเสริมผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า กลุ่มเซมิคอนดักซ์เตอร์ ดึงเข้ามาอยู่ในประเทศ เมื่อเกิดปัญหาชิป เรื่องชิ้นส่วนจะได้ไม่มีปัญหาอนาคต เพราะเป็นอุตสาหรกรมสำคัญต่อยอดไปหลายอุตสหากรรม เหมือนกับมีวัตถุดิบหลักใช้เองในประเทศ อุตสาหรกรมปิโตรเคมี แม้เข้มแข็งแต่ต้องปรับตัวไปสู่อุตสหากรรมดูแลสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อุตสาหกรรมทางการแพทย์ นับว่าเป็นอีกสาขาที่มีความสำคัญ ทั้งยา วัคซีน ต้องใช้ความหลากหลายทางชีวิภาพของไทย เช่น สารสกัดจากมังคุด เป็นเครื่องสำอาง และยังมีอีกหลายอย่างที่มีศักยภาพ โดยอาศัยการวิจัย นวัตกรรมมาใช้พัฒนา