สภาพไทย! เศรษฐกิจยันตลาดทุนไม่ต่างจาก สุสานของรายย่อย ซุปเปอร์เหลื่อมล้ำ

475
0
Share:
สภาพไทย! เศรษฐกิจ ยัน ตลาดทุน ไม่ต่างจาก สุสานของรายย่อย ซุปเปอร์ เหลื่อมล้ำ

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ เลขานุการบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำโดยเฉพาะความไม่เท่าเทียมของรายได้ของคนไทย ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา พบว่ากลุ่มคนที่มีรายได้สูง 20% และกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำ 20% มีรายได้เติบโตขึ้นแตกต่างกันถึง 10 เท่า

การถือครองที่ดินของคนไทยโดยอ้างอิงจากสถิติเมื่อ 10 ปีที่แล้ว พบว่ากว่า 80% ของที่ดินในประเทศไทยอยู่ในมือคนร่ำรวย แต่กลับมีแค่ 0.25% ของทึ่ดินในไทยที่อยู่ในมือชองประชาชคนยากจน นั่นหมายถึงมีความแตกต่างกันมากถึง 300 เท่า

สัดส่วนของบัญชีเงินฝากของประชนคนไทย พบว่า คนไทยที่มีเงินฝากมูลค่า 10 ล้านบาทขึ้นไป มีรวมกันเกือบ 2 แสนบัญชี หรือราว 0.18% ของทั้งระบบ 110 ล้านบัญชี แต่สิ่งที่น่าสนใจอย่างมาก คือคนกลุ่มนี้มีเงินเท่ากับครึ่งหนึ่ง หรือ 50% ของระบบธนาคารของประเทศไทย

เมื่อนำไปนับรวมกับกลุ่มคนที่มีเงิน 1 ล้านบาทขึ้นไปแล้ว จะมีจำนวนบัญชีรวมกันทั้งสิ้น 1 ล้านบัญชี ซึ่งเพิ่มสัดส่วนเงินฝากขึ้นไปอีกเป็นมากกว่า 70% จากปริมาณเงินฝากทั้งระบบธนาคารในไทย

สำหรับตลาดทุนไทย เช่น ตลาดหลักทรัพย์ อาจเรียกได้ว่าเป็น “สุสานของรายย่อย” เนื่องจากการพยายามดึงนักลงทุนรายย่อยเข้ามามาในตลาดทุนเป็นจำนวนมาก แต่กลับไม่ค่อยมีการปกป้อง ทั้งๆ ที่ประชาชนรายย่อยเหล่านี้เข้ามาด้วยความหวังจากการนำเงินสะสมเพื่อการเกษียณมาลงทุน แต่กลับต้องมาเจอการหุ้นปั่น ได้รับความเสียหาย และกลายเป็นบัญชีร้างเต็มไปหมด ถ้าตลาดหลักทรัพย์ฯดำเนินการแก้ไข หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ จะทำให้เป็นตลาดหุ้นไทยที่น่าเข้ามาลงทุนมากขึ้น และประชาชนก็คิดไม่ผิดที่จะนำเงินมาลงทุน เพราะรู้สึกว่าปลอดภัย

กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ เลขานุการบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันระบบทุนนิยมถือเป็นแนวคิดในการขับเคลื่อนและพัฒนาการเติบโตของเศรษฐกิจไทย แต่ในเวลาเดียวกันก็ได้สร้างปัญหาทิ้งไว้ตามมามากมาย สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน และยังไม่มีแนวทางแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม

ปัญหาของประเทศไทยในปัจจุบัน มี 3 ด้าน คือ ปัญหาหนี้นอกระบบ ปัญหาระบบคนกลางที่ครอบครองส่วนต่างมากเกินไป และปัญหาขาดแคลนความรู้และนวัตกรรมใหม่

ดังนั้น การแก้ไขปัญหาจึงประกอบด้วย การสร้างผู้นำเข้มแข็ง การรวมกลุ่มชุมชนเพิ่มอำนาจต่อรอง การส่งเสริมเอกชนเข้ามาสนับสนุนชุมชน ซึ่งแลกกับการได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และภาครัฐต้องลดข้อจำกัดในด้านกฎระเบียบต่างๆ ด้วย