‘หมอทวีศิลป์’ เผย 12 จังหวัดที่ยอดโควิดขาลงอาจประกาศเป็นโรคประจำถิ่นก่อน

442
0
Share:
โรคประจำถิ่น

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) แถลงภายหลังการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ว่าได้หารือ 5 เรื่องสำคัญ คือ

1.สถานการณ์โควิดทั่วโลกและเอเชียคล้ายกันคือ มีผู้ติดเชื้อสูงขึ้นมาก่อนและเริ่มลดลงแล้ว การเสียชีวิตก็เริ่มลดลง จึงเห็นภาพการประกาศผ่อนคลายของแต่ละประเทศทั่วโลก ส่วนประเทศไทยก็หลุดออกมาจากบัญชีที่เฝ้าระวังสูงๆ ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งไทยมียอดติดเชื้อโควิดสูง 2 ช่วง คือ เม.ย. 2564 และ ม.ค. 2565 ซึ่งขณะนี้คล้ายกำลังจะลง แต่ผู้เสียชีวิตยังทรงๆ เหมือนดูสูงขึ้นเล็กน้อย ส่วนสถานการณ์ปอดอักเสบยังอยู่เหนือเส้นคาดการณ์สีเขียว ใส่ท่อช่วยหายใจอยู่เหนือเส้นสีเหลือง และผู้เสียชีวิตยังอยู่ที่เส้นสีเหลือง ซึ่งส่วนใหญ่ผู้เสียชีวิตยังไม่ได้รับวัคซีนและมีโรคประจำตัว

ทั้งนี้ การไปสู่โรคประจำถิ่นสำคัญอยู่ที่อัตราเสียชีวิต จะต้องต่ำกว่า 0.1% แต่เราอยู่ที่ 0.31% ซึ่งบางกลุ่มจังหวัดบางกลุ่มยังอยู่ในระยะการต่อสู้ เพราะเป็นช่วงขาขึ้น บางจังหวัดทรงตัว และบางจังหวัดขาลง สถานการณ์ไม่เท่ากัน มีดังนี้

1.กลุ่มจังหวัดขาขึ้นอยู่ในระยะการต่อสู้มี 21 จังหวัด ได้แก่ ลำพูน, แพร่, ลำปาง, พิษณุโลก, สุโขทัย, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, สกลนคร, บึงกาฬ, เลย, อุดรธานี, ขอนแก่น, นครพนม, หนองคาย, ยโสธร, มหาสารคาม, ศรีสะเกษ, นนทบุรี, นครนายก, กาญจนบุรี และอุทัยธานี

2.ระยะทรงตัว 44 จังหวัด ได้แก่ กทม. แม่ฮ่องสอน, เชียงราย, เชียงใหม่, น่าน, เพชรบุรณ์, อุตรดิตถ์, พะเยา, พิจิตร, ชัยนาท, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี, สิงห์บุรี, ลพบุรี, ตาก, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, ราชบุรี, นครปฐม, อ่างทอง, สระบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, สุพรรณบุรี, พัทลุง, พังงา, ชุมพร, ชลบุรี, สมุทรปราการ, มุกดาหาร, ฉะเชิงเทรา ,จันทบุรี, ระยอง, ปราจีนบุรี, ตราด, สระแก้ว, หนองบัวลำภู, อำนาจเจริญ, อุบลราชธานี, นครราชสีมา, ร้อยเอ็ด, กาฬสินธุ์, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์ และสุรินทร์

3.ระยะขาลง (Declining) มี 12 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี, สุราษฎร์ธานี, กระบี่, ระนอง, ตรัง, นครศรีธรรมราช, ภูเก็ต, สตูล, สงขลา, ยะลา, ปัตตานี, และนราธิวาส

ทั้งนี้แต่ละจังหวัดมีสถานการณ์แตกต่างกันไป ภาพรวมการประกาศว่าเป็นโรคประจำถิ่นต้องช่วยกันในเรื่องอัตราเสียชีวิตในการนำมาบอกว่าไปถึงระยะนั้นแล้วหรือไม่ คือน้อยกว่า 0.1% ในรายสัปดาห์ เป็นจำนวน 2 สัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่งเราใช้อัตราส่วนผู้เสียชีวิตจากโควิด หารด้วยผู้ป่วยโควิดรักษาแล้วคูณร้อย