“หมอธีระ” เผยโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 แพร่เชื้อเร็วขึ้นกว่าสายพันธุ์ธรรมดา

415
0
Share:
โควิด

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า…Omicron สายพันธุ์ย่อย BA.2 ข้อมูลจาก Prof.Moritz Gerstung จาก German Cancer Research Center พบว่าจำนวนคนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของเยอรมนี เป็น BA.2 มากกว่าเดลตา (5% vs 2-3%) หากเทียบอัตราการขยายตัวของการระบาดแต่ละสายพันธุ์ จะพบว่า Omicron BA.

1 (สายพันธุ์แรก) จะเร็วกว่าเดลตาราว 15% แต่ Omicron สายพันธุ์ BA.2 นี้จะเร็วกว่าเดลตาราว 20% ตอนนี้เมืองที่มี BA.2 มากสุดคือ กรุงเบอร์ลิน มีสัดส่วนของ BA.2 ถึง 30%

2.อัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจาก mRNA vaccines Oster ME และคณะ ได้ตีพิมพ์การศึกษาติดตามผลหลังฉีดวัคซีน mRNA (Pfizer/Biontech: BNT162b2 และ Moderna mRNA-1273) ในวารสารวิชาการแพทย์สากล JAMA วันที่ 25 มกราคม 2565 ตั้งแต่ธันวาคม 2563 ถึงสิงหาคม 2564 มีจำนวนผู้ที่ได้รับวัคซีนที่อายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป จำนวน 192 ,405,448 คน ได้รับวัคซีนไป 354,100,845 โด๊ส มีรายงานจำนวนคนที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบทั้งหมด 1,626 คน อัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบนั้น พบมากในช่วงอายุ 12-15 ปี (70.7 รายต่อการฉีด BNT162b2 จำนวน 1 ล้านโด๊ส)

โดยสูงสุดในวัยรุ่นเพศชายอายุ 16-17 ปี (105.9 รายต่อการฉีด BNT162b2 จำนวน 1 ล้านโด๊ส) และในผู้ชายอายุ 18-24 ปี (52.4 รายต่อการฉีด BNT162b2 จำนวน 1 ล้านโด๊ส และ 56.3 รายต่อการฉีด mRNA-1273 จำนวน 1 ล้านโด๊ส) ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบส่วนใหญ่ได้รับการดูแลรักษาจนหายดี โดยมักใช้ยาต้านการอักเสบ (Nonsteroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDS)

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่า ประโยชน์ที่ได้จากการฉีดวัคซีนนั้นมากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เพราะหากมีการติดเชื้อโรคโควิด-19 จะเกิดความเสี่ยงต่อการป่วยและการเสียชีวิต รวมถึงผลแทรกซ้อนต่างๆ ตามมามากกว่า

อ้างอิง
Oster ME et al. Myocarditis Cases Reported After mRNA-Based COVID-19 Vaccination in the US From December 2020 to August 2021. JAMA. 2022;327(4):331-340